วิธีกำจัดข้ออ้างตามใจปาก
หลังจากได้อ่านหนังสือ “กำจัดข้ออ้างสุดท้ายออกจากชีวิต” หรือ “No excuses” อ่านไปก็นึกถึงตัวเองและคนรอบข้าง และพบว่า…พวกเรานี่ช่างคิดข้ออ้างของการกินได้ไม่สิ้นสุดจริงๆ
เราก็เลยประยุกต์วิธีที่ได้จากหนังสือมาช่วยจัดการข้ออ้างของการกิน เผื่อเพื่อนๆ สนใจจะนำไปใช้
ข้ออ้างที่เรามักได้ยิน คือ กินคาวไม่กินหวานสันดานไพร่เนื่องจากน้ำตาลสมัยก่อนมีราคาแพง อาหารที่ใช้น้ำตาลเป็นเครื่องปรุงจึงมักอยู่ในรั้วในวัง หรือบ้านคนมีอันจะกิน หลังจากกินของคาวเสร็จ ก็มักจะมีของหวานล้างปาก
แต่ปัจจุบันนี้น้ำตาลถูกกว่าแต่ก่อนมาก ของหวานมีให้กินกันทั่วไป ทั้งถูกและแพง หลากหลายเชื้อชาติ
ดังนั้น หากใครอ้างว่า กินคาวไม่กินหวาน สันดานไพร่
เราจะบอกกลับไปว่า …
ไทยเลิกทาสและไพร่ตั้งแต่ 1 เมษายน 2448 ก็ร้อยกว่าปีละ แม้จะใช้เวลานานหลายสิบปี (ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2410 -2458) ดังนั้น ตอนนี้ไม่มีใครเป็นไพร่ อย่าเอามาเป็นข้ออ้าง นะจ๊ะ
แต่…หลายคงก็ยังคงเลือกทาสของความหวานต่อไป 555
วิธีถัดไปคือ อยู่นอกสายตา
ไม่เดินเขาใกล้ ไม่ซื้อขนมขบเคี้ยว เรียกง่ายๆได้ จัดการ สิ่งยั่วยวน ให้ห่างจากสายตาเรามากที่สุด เพราะการมองเห็นจะเป็นตัวกระตุ้นความอยากชั้นดี เมื่อไม่มี ไม่เห็น แม้จะอยาก แต่ก็ไม่ได้กิน แต่หากอารมณ์ความอยากมันรุนแรง อันนี้ก็ตัวใครตัวมัน
ในทางเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม การได้ทราบข้อเท็จจริง ก็มีส่วนช่วยลดพฤติกรรมเสี่ยงได้
เราปรับไอเดียนี้เล็กน้อย เช่น
เวลาเจอ…
ของทอด จะท่องในใจว่า ‘คลอเลสเตอรอลเน้ออออ ชิ้นสองชิ้นพอ’
ของปิ้งย่าง จะท่องในใจว่า ‘มะเร็งทั้งนั้น อย่ากินบ่อย ๆ’
ของเค็มทั้งหลาย เช่น ส้มตำ ไส้กรอก จะท่องในใจว่า ‘ไตสะเทือน กินพอหายอยากเนอะ’
และของหวานทั้งหลาย จะท่องในใจว่า ‘เบาหวานนะจ๊ะ พันธุกรรมเรามี’
ต่อมา เลิกผลัดวันประกันพรุ่ง
ผลัดวันประกันพรุ่ง (Procrastination) ศรัตรูตัวฉกาจที่ทำให้เราหักห้ามใจไม่ได้
เลิกเถอะ กับคำว่า ‘เดี๋ยวก่อน’ ‘พรุ่งนี้ค่อยเริ่ม’ หรือจะเป็น ‘ครั้งสุดละ’ …
คำเหล่านี้พยายามอย่าพูดมันออกมา
การยึดมั่นกับคำพูดตัวเอง คือการเคารพตนเอง คำไหน คำนั้น ไม่มีแต่
อาจจะโหด แต่มันคือปัจจัยหลักเลยที่จะกำจัดข้ออ้างให้หมดไป
เรากินทุกอย่างแหละ แต่ว่าไม่กินเยอะ กินแค่พออิ่ม ไม่ได้กินเอาคุ้ม เพราะในระยะยาวมันได้ไม่คุ้มเสีย
บางร้านอาหารติดป้ายเตือนใจว่า…
“สั่งอาหารเท่าที่เราจะกินได้หมด
เงินทองเป็นของเราก็จริง
แต่ทรัพยากรเป็นสมบัติส่วนรวม
มีผู้คนอีกจำนวนมากในโลกนี้ที่อดอยากหิวโหย
พวกเราไม่ควรที่จะใช้ทรัพยากรอย่างไร้ค่า”
“ORDER WHAT YOU CAN CONSUME, MONEY IS YOURS BUT RESOURCES BELONG TO THE SOCIETY. THERE ARE MANY OTHERS IN THE WORLD WHO ARE FACING SHORTAGE OF RESOURCES. YOU HAVE NO REASON TO WASTE RESOURCES.“
จำได้ว่า ครั้งแรกที่เห็นประทับใจมาก
เราเดาว่า ทางร้านคงเจอกรณีการสั่งอาหารตอนหิว โน่นก็น่ากิน นี่ก็น่าอร่อย สั่งมาเต็มโต๊ะ สุดท้ายกินไม่หมด ห่อกลับบ้าน เท่ากับเป็นการผลิตขยะเพิ่มอีก
แถมบางครั้ง ที่ห่อกลับก็ไม่ได้กิน ท้ายสุดลงถังขยะ กลายเป็นอาหารที่ถูกทิ้ง T_T
แต่ถึงแม้ว่าจะกินหมด หลายคนกลับมาต้องเครียดกับตัวเลขบนตาชั่งที่เพิ่มขึ้น บางคนก็เลี่ยงด้วยการไม่ชั่งซะเลย
การชั่งน้ำหนักบ่อย ๆ บางทีก็กดดันจนเครียด แต่การไม่ชั่งเลยก็เกินไป ชั่งบ้างสักสัปดาห์ละครั้งสองครั้ง กำลังดี อย่ารอจนเสื้อผ้าที่มีอยู่คับจนอึดอัด
กินเอาอิ่ม อย่ากินเอาคุ้ม เพราะมันจะได้ไม่คุ้มกับความเครียดที่รออยู่
การรู้เท่าทันตัวเองเป็นสิ่งที่อยาก แต่เราต้องทำ ต้องฝึกฝน เพื่อตัวเราเอง
#ด้วยรักและห่วงใยจากทีมEatEcon
#เรื่องดีดีมีให้อ่านทุกวัน
หากเพื่อนสนใจเรื่องราวเกี่ยวกับการกินในมุมมองเศรษฐศาสตร์ สามารถอ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ www.eatecon.com
#EatEcon
ที่มา:
[1] https://www.dailynews.co.th/article/639627
Photo by Alexandra Gorn on Unsplash