“ชาวสวนขายเองค่ะ ราคาไม่แพง”

ในช่วงฤดูกาลของผลไม้ออกสู่ตลาดนำนวนมากจนเกิดภาวะล้นตลาด เรามักจะเห็นรถกระบะบรรทุกผลผลิตทางการเกษตรมาขายริมทาง ซึ่งราคามักจะถูกกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับราคาขายในตลาดทั่วไป โดยผู้ขายมักจะบอกว่า “ชาวสวนมาขายเองค่ะ ราคาไม่แพง”  พวกเราก็มักจะอุดหนุนติดไม้ติดมือกลับมา อันที่จริงแค่บอกว่าชาวสวนมาขายเอง ความยินดีที่จะซื้อของพวกเราก็เพิ่มขึ้นแล้ว เพราะเรามีภาพในใจว่า… เกษตรกรนั้นเป็นอาชีพที่ลำบาก รายได้น้อย และเมื่อมีโอกาสอุดหนุนโดยตรง มีหรือที่เราจะไม่ช่วยสนับสนุน ได้ผลผลิตสด ๆ จากสวน ถือเป็นข้อดีเด้งแรก และจ่ายในราคาที่ไม่ต้องผ่านคนกลาง ถือเป็นข้อดีเด้งที่

อยากกินแพง แต่เสียดายเงิน จะทำยังไงดี

เมื่อเอ่ยถึงภาวะเศรษฐกิจช่วงนี้ ทุกคนลงความเห็นเหมือนกันว่า ‘แย่’ ประชาชนคนไทยระมัดระวังในการใช้จ่าย แม้ว่ารัฐจะกระตุ้นด้วยมาตรการ “ชิม ช็อป ใช้” แจกเงินให้ใช้กันฟรี ๆ คนละ 1,000 บาท แถมมีกระเป๋าสองถ้าอยากจ่ายเงินแล้วได้เงินคืน  ในมุมของเรา นโยบายไม่น่าจะกระตุ้นเศรษฐกิจได้ดังหวัง เพราะข้อจำกัดเยอะสุด ๆ กว่าจะแย่งกันลงทะเบียนได้ ก็อดตาหลับขับตานอน

บันทึกการเดินทาง ตอน มะม่วงน้ำดอกไม้

3 ตุลาคม 2562  ทีมวิจัยผลไม้ของภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร (ซึ่งเราได้มีโอกาสเป็นส่วนเล็ก ๆ ของโครงการวิจัยนี้) ได้ไปเยี่ยมชมสวนมะม่วงน้ำดอกไม้ของคุณมนตรี ศรีนิล ผู้ยึดอาชีพชาวสวนมะม่วงน้ำดอกไม้ มานานกว่า 30 ปี  การเดินทางไปครั้งนี้เพื่อไปหาคำตอบว่าตอนนี้ชาวสวนมะม่วงน้ำดอกไม้เป็นอย่างไรกันบ้าง มีปัญหาอะไรที่ยังแก้กันไม่ตก และชาวสวนต้องการเทคโนโลยีหรือเครื่องมืออะไรที่อยากนำมาใช้ในการผลิต เราออกเดินทางกันตั้งแต่ 6 โมงเช้า เพื่อเลี่ยงปัญหาการจราจร

ขออย่าให้หมูกลายเป็นแพะ

ตอนนี้แวดวงของผู้เลี้ยงสุกรต่างร้อน ๆ หนาว ๆ ถ้วนหน้ากับการรุกรานของการระบาดโรคอหิวาต์แอฟริกา หรือ AFS ที่ทะลุการ์ดของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนที่เตรียมการรับมือป้องกันมาร่วมปีเข้ามาในเมืองไทยเรียบร้อย ณ จังหวัดเชียงราย แต่ยังไม่มีการรายงานความเสียหายที่เกิดขึ้นกับฟาร์มขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่นั้นและการระบาดไปยังพื้นที่อื่น ต้องยอมรับว่าวงการหมูไทยได้ต่อสู้กับการระบาด AFS ได้ยอดเยี่ยม ควบคุมพื้นที่ระบาดของโรคได้ดีเมื่อเทียบกับจีน เวียดนาม ลาว และพม่า โดยเฉพาะจีนที่มีความเสียหายอย่างหนัก AFS