หมูหลุม…หนึ่งทางรอดของเกษตรกรรายย่อย

โดย ผศ.ดร.สุวรรณา สายรวมญาติ ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2566 ที่ผ่านมา ได้มีกฎกระทรวงออกมาบังคับการทำมาตรฐานฟาร์มหมู GAP (การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มสุกร ตามพระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2551)โดยกฎกระทรวงนี้มีผลบังคับใช้กับฟาร์มหมูขนาดกลางและขนาดใหญ่ แม้ว่าผู้เลี้ยงจะทราบดีถึงการบังคับทำมาตรฐานฟาร์ม GAP ก่อนหน้านี้กรมปศุสัตว์ก็เดินหน้ามาตรฐานฟาร์มมาพักใหญ่

สารเร่งเนื้อแดง หอกข้างแคร่กรมปศุสัตว์

โดย ผศ.ดร.สุวรรณา สายรวมญาติ ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สถานการณ์ตลาดโคขุนไทยต้องมาชะงักอีกครั้ง หลังเวียดนามระงับนำเข้าโคขุนของไทยเพราะตรวจเจอสารเร่งเนื้อแดง สารต้องห้ามที่กฎหมายไทยไม่อนุญาต !!! สารเร่งเนื้อแดง เป็นสารสังเคราะห์ในกลุ่มเบต้าอะโกนิสต์ (beta-agonist) เช่น แรคโตพามีน (ractopamine) zilmax และ optaflexx เป็นต้น

รัฐต้องทำอะไรเพื่อช่วยคนเลี้ยงหมูให้รอดในปี 2566

เรื่องโดย ผศ.ดร.สุวรรณา สายรวมญาติ ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สถานการณ์คนเลี้ยงหมูปี 2566 ไม่สู้ดีนัก เนื่องจากวัตถุดิบอาหารสัตว์มีราคาแพงมาก ปัจจุบันกากถั่วเหลือง 23.40 บาท/กก. ข้าวโพดหน้าโรงงาน 13.40 บาท/กก. (ชาวไร่ข้าวโพดขายได้ 9.50 บาท/กก.) ปลายข้าว

เทคโนโลยีแม่นยำ: ทางรอดของผู้เลี้ยงโคนมไทย

เรื่องโดย ผศ.ดร.สุวรรณา สายรวมญาติ ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผลพวงจากสงครามและเงินเฟ้อทำให้ต้นทุนการผลิตน้ำนมดิบเพิ่มสูงขึ้น จนทำให้เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมหลายรายแบกรับต้นทุนไม่ไหวตัดสินใจเลิกอาชีพในที่สุด จากหน้าสื่อปริมาณการผลิตน้ำนมโคในปี 2565 ในภาพรวมเฉลี่ยลดลง 127 ตัน/วัน เมื่อเทียบกับปี 25641  แต่โดยสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงขณะนี้ มีจำนวนฟาร์มที่เลิกเลี้ยงเป็นจำนวนมาก ปริมาณน้ำนมลดลงมากกว่า 700 ตัน/วัน

กรมปศุสัตว์: ผู้ชี้ชะตาชาวหมูรายย่อยไทย

เรื่องโดย ผศ.ดร.สุวรรณา สายรวมญาติ ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นับแต่วันที่มีการประกาศการระบาดของโรคแอฟริกันอหิวาต์ในสุกรเมื่อเดือนมกราคม 2565 ล่วงเลยมาจนถึงตอนนี้ก็ 11 เดือนแล้ว สถานการณ์หมูไทยเป็นอย่างไรบ้าง ราคาหมูจะลดลงหรือยัง เกษตรกรรายย่อยจะกลับมาได้หรือไม่ กลับมาได้อย่างไร เหล่านี้ล้วนเป็นคำถามที่ผู้เขียนถูกถามเสมอเรื่อยมา ในมุมมองของผู้เขียนเองคาดว่า… สถานการณ์การผลิตหมูของไทยในปี 2566 จะดีขึ้น

แนวทางฟื้นฟูผู้เลี้ยงสุกรหลังวิกฤต ASF

หลังจากโรค ASF ในสุกร เข้ามาสร้างความเสียหายให้กับธุรกิจและอุตสาหกรรมการผลิตสุกรของไทยอย่างรุนแรง โดยเฉพาะผู้เลี้ยงรายย่อย รายเล็ก และรายกลาง หลายแห่งตัดสินใจปิดฟาร์ม ส่งผลให้ทำให้ปริมาณสุกรขุนออกสู่ตลาดลดลงสวนทางกับปริมาณความต้องการบริโภคที่มีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นจากการผ่อนคลายมาตรการรัฐอันเนื่องมาจากสถานการณ์โควิด-19 จนเกิดภาวะราคาหน้าฟาร์มสูงกว่า 100 บาท/กิโลกรัมตั้งแต่ต้นปี 2565 ถึงปัจจุบัน (สิงหาคม 2565) เพื่อให้ผู้เลี้ยง ผู้ค้า และผู้ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจในอุตสาหกรรมการผลิตสุกรของไทยผ่านวิกฤตและอยู่รอดได้ต่อไป ทุกภาคส่วนควร

ปุ๋ยแพง เรื่องร้อนแรงที่ไม่มีใครสนใจ

เมื่อสองเดือนก่อนได้เขียนเตือนสถานการณ์ภาวะเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นทั่วโลกจากต้นทุนการผลิตเพิ่ม หรือ Cost push จากปัญหาพลังงานการผลิตในอุตสาหกรรมถ่านหินและก๊าซธรรมชาติ จนส่งผลให้ราคาสินค้าและบริการเพิ่มขึ้นตามต้นทุนที่เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะอาหารที่ต้นทุนการผลิตที่สำคัญคือ ปุ๋ย (เคมี) ซึ่งประเทศผู้ส่งออกปุ๋ย DAP เช่น จีน รัสเซีย ก็จำกัดปริมาณการส่งออกเพื่อปกป้องภาคเกษตรของประเทศ จนส่งผลให้ราคาปุ๋ยโลกพุ่งขึ้นประมาณ 200% ในปีที่ผ่านมา กล่าวได้ว่า ปุ๋ยแพงไม่จบง่าย ๆ

แรงจูงใจคนเลี้ยงหมูให้หวนคืนอาชีพ

เรื่องโดย สุวรรณา สายรวมญาติ ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์   2-3 ปีนี้นับว่าเป็นช่วงปีย่ำแย่ที่สุดของคนเลี้ยงหมู เพราะต้องเผชิญกับโรคระบาดในหมูและตามด้วยโรคระบาดโควิด-19 ในคน ตามด้วยราคาต้นทุนวัตถุดิบอาหารสัตว์พุ่งสูงลิ่ว แถมเคราะห์ซ้ำกรรมซัดจากอุทกภัยทำน้ำท่วมไปหลายพื้นที่ แต่เมื่อถึงเวลาขาย กลับขายไม่ได้ราคาตามที่ประกาศ จนเกิดวลี “ราคาทิพย์” ให้ช้ำใจ คนเลี้ยงหมูบอบช้ำกันขนาดอย่างหนัก น้อยรายนักที่ยืนหยัดฝ่าคลื่นลมมาได้

ทางแยกของการตัดสินใจ

โดย สุวรรณา สายรวมญาติ ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์   ข่าวฟาร์มหมูรายกลางและรายย่อยโซนภาคกลางแถว ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง สระบุรี นครนายก หรือสุโขทัย แทขายหมูยกฟาร์มหลักจากเกิดการระบาดของโรคโดยไม่มีการรายงานว่าเป็นเชื้อชนิดใด ซึ่งผู้เขียนคาดว่าจะเป็นกลุ่มเชื้อไวรัสเนื่องจากระบาดเร็วและรุนแรง ดังเช่นการระบาดของเชื้อไวรัสอหิวาต์แฟริกาที่ทำลายจำนวนสุกรไปหลายล้านตัวในหลายประเทศไม่ว่าจะเป็นจีน เวียดนาม หรือกัมพูชา อย่างไรก็ดีปัจจุบันยังไม่มีการระบาดของเชื้อไวรัสตัวนี้จากกรมปศุสัตว์ไทย

ฤาจะเข้ายุคข้าวยากหมากแพง

จากข้อมูลราคาปุ๋ยฟอสเฟตและยูเรียที่เพิ่มขึ้นมาต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2563 คาดว่าจะอยู่ในระดับสูงในช่วงที่เหลือของปี 2564 และยิงยาวไปถึงปีหน้า 2565 เป็นหนึ่งปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ต้นทุนการผลิตพืชอาหารทั่วโลกเพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้ยังมีสภาพอากาศที่แปรปรวน สถานการณ์น้ำท่วมในหลายประเทศ ล้วนเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่า แนวโน้มราคาอาหารจะเพิ่มสูงขึ้น อัตราเงินเฟ้อของอาหารทั่วโลกจะกลายเป็นหนามทิ่มแทงรัฐบาลทุกประเทศ ภาพที่ 1 ราคาปุ๋ยฟอสเฟต ยูเรีย และโพแทส ช่วงปี 2018 –