ของแถมจากเบคอน
- งานวิจัยล่าสุดที่ CNN พาดหัวข่าวเมื่อเดือนก่อนว่า การกินเบคอนเป็นประจำแม้เพียงหนึ่งชิ้นต่อวันก็ส่งผลต่อการเพิ่มความเสี่ยงการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ หรือ colorectal (bowel) cancer แถมยังเชื่อมโยงไปยังมะเร็งตับอ่อน มะเร็งต่อมลูกหมาก และมะเร็งกระเพาะอีกด้วย
แม้ว่าสถาบันวิจัยมะเร็งจะมีงานวิจัยที่ทดลองในคนน้อย แต่งานวิจัยในสัตว์ทดลองเพียบ
ที่สำคัญระดับความรุนแรงนี่เทียบเท่ามะเร็งอันมีสาเหตุมาจากการสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ จึงเป็นเหตุให้องค์การอนามัยโลก หรือ WHO ต้องออกมาเตือน เมื่อปี 2015
ไม่ใช่แค่เบคอนนะจ๊ะ
องค์การอนามัยโลก ยังเตือนถึงผลิตภัณฑ์เนื้อแดงแปรรูป (Processed mear) ทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นไส้กรอกแสนอร่อย โบโลน่าแสนแซ่บ หรือลูกชิ้นเด้งทั้งหลาย
ที่ต้องออกมาเตือนเพราะจากข้อมูลพบว่า ผู้ที่เสียชีวิตอันมาสาเหตุจากโรคมะเร็ง ประมาณ 34,000 รายต่อปี ส่วนมากชอบกินเนื้อสัตว์แปรรูปนี่แหละ [2]
เนื้อแปรรูปในคงวามหมายขององค์การอนามัยโลก คือ เนื้อที่ผ่านการปรุงด้วย เกลือ (หรือสารทดแทนเกลือ) การหมัก รมควัน หรือวิธีการถนอมอาหาร เพื่อการยืดอายุการเก็บรักษา
อ้อ ๆ ๆ นอกจากเนื้อเหล่านี้รวมไปถึง เครื่องในสัตว์และเลือดด้วยนะจ๊ะ
เราเป็นหนึ่งในสาวกของเบคอนเลยก็ว่าได้ ตอนไปเรียนต่อก็กินประจำ อารมณ์ประมาณว่าอยู่ไทยหากินไม่ง่ายนัก บางครั้งเจอหมูสามชั้นสวมรอย
ไม่รู้ว่าเป็นความเข้าใจผิดหรือความตั้งใจที่ร้านหมูกะทะหลายร้านใช้หมูสามชั้นแทนเบคอน แต่ที่แน่ ๆ ประหยัดต้นทุนได้มากทีเดียว
ตอนที่กินก็พอเดาได้ว่าเบคอนไม่น่าจะดีกับร่างกายเรานัก เพราะรสเค็มที่นำโด่ง ต้องผ่านกระบวนการมาพอสมควร แต่มันหอมเย้ายวน เรียกน้ำลายแบบสุดๆ หักห้ามใจยากเหลือเกิน
ข้อมูลนี้ไม่ได้เป็นเรื่องใหม่อะไร เพราะปัจจุบันหลายคนก็เลือกกินเนื้อหมู เนื้อวัว ด้วยเหตุนี้
หลายคนคงมีคำถาม เช่น
Q: เราควรหยุดกินเนื้อแดงทั้งหลายหรือไม่?
A: องค์การอนามัยโลกยังไม่ได้บอกว่าควรหยุดกิน เพราะข้อมูลยังไม่พอ
Q: มีเนื้อกลุ่มเนื้อแดงใดที่ปลอดภัยกว่าที่ศึกษาหรือไม่?
A: ยังไม่สามารถสรุปได้ แม้ว่าจะมีการวิจัยเปรียบเทียบประเภทของเนื้อสัตว์ เช่น เนื้อหมูกับเนื้อวัว แฮมกับไส้กรอก แต่ผลการศึกษาก็ยังไม่เพียงพอที่จะสรุปได้ว่าอะไรมีผลต่อการเพิ่มความเสี่ยงของมะเร็งมากกว่ากัน
Q: เราควรกินแต่พวกสัตว์ปีกและปลาหรือไม่?
A: จากงานวิจัยที่ผ่านมา ยังไม่ได้หาความสัมพันธ์ระหว่างมะเร็งกับการบริโภคเนื้อสัตว์ปีกและปลานะจ๊ะ ดังนั้น ยังไม่ควรสรุป
Q: กินมังสวิรัติเลยดีมั้ย?
A: การกินมังสวิรัติมีต้องข้อดีและข้อเสีย อีกทั้งยังปัจจัยของพันธุกรรมของแต่ละคนด้วย บางคนกินแต่ผักดันได้โรคกระเพาะแถม อ้อ กินผักก็ต้องระวังสารเคมีตกค้างด้วยนะ
Q: งานวิจัยที่สถาบันวิจัยมะเร็งใช้ในครั้งนี้เยอะแค่ไหน?
A: งานนี้รวบรวมงานวิจัยเกี่ยวกับมะเร็งในคนมากกว่า 800 ชิ้น (งานวิจัยมากกว่า 700 ชิ้น ศึกษาในเนื้อแดง และมากกว่า 400 ชิ้นศึกษาในเนื้อแปรรูป) ใช้ผู้เชี่ยวชาญจาก 10 ประเทศ จำนวน 22 ราย ช่วยกันประเมิน
Q: แล้วเรากินได้มากแค่ไหน ?
A: เดิมทียังไม่รู้อีกเช่นกัน เพราะข้อมูลยังไม่พอ
แต่ตอนนี้งานวิจัยล่าสุดของ Bradbury, Murphy และ Key [3]
แต่ตอนนี้งานวิจัยล่าสุดของ Bradbury, Murphy และ Key ซึ่งได้ติดตามกรณีผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งสำไส้ใหญ่จำนวน 2,609 ราย เป็นระยะเวลา 5.7 ปี พบว่า
คนที่ที่กินเนื้อเฉลี่ย 76 กรัม/วัน และเนื้อแปรรูปประมาณ 21 กรัม/วัน มีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่มากกว่าคนทั่วไป 20%
และคนที่กินขนมปังและ Cereal เป็นอาหารเช้าซึ่งเป็นแหล่งของเส้นไย ช่วยลดความเสี่ยงของมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ถึง 14%
และแอลกอฮอล์ก็มีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงนี้ประมาณ 8%
ทั้งนี้ การกินปลา เนื้อสัตว์ปีก ชีส ผัก ผลไม้ ชา และกาแฟ ไม่พบว่ามีความสัมพันธ์กับมะเร็งลำไส้ใหญ่ [3]
ซึ่งปัจจุบัน อังกฤษแนะนำว่าควรบริโภคเนื้อแดงและเนื้อสัตว์แปรรูปไว้ที่ ≤90 กรัม/วัน [4]
เนื่องจากเนื้อสัตว์ยังคงเป็นแหล่งของโปรตีนที่ร่างกายเราต้องการ เพราะเป็นแหล่งที่มากรดอะมิโนสำคัญที่ช่วยในการบวนการทำงานของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นทั้งการซ่อมและการเสริมสร้าง
ในความเห็นของเราตอนนี้ คงต้องบอกว่าเดินทางสายกลางดีที่สุด กินทุกอย่าง 555 คือ กินให้มีความสุข กินได้ แต่อย่ากินเยอะ อย่ากินซ้ำซาก กินผักและผลไม้เพิ่มสักหน่อย มิเช่นนั้นจะทุกข์ภายหลัง
อย่างไรก็ตามเรายังมีมีแหล่งโปรตีนทางเลือกอีกหลายประเภทนอกจากเนื้อแดง ไว้เราจะมาเล่าเรื่องโปรตีนจากแหล่งอื่นที่น่าสนใจ เผื่อเป็นทางเลือกให้เพื่อน ๆ ในอนาคต
สนใจเรื่องราวเกี่ยวกับการกินในมุมมองเศรษฐศาสตร์ สามารถอ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ www.eatecon.com
#ทีมEatEcon
ที่มา
[1] CNN, 2019. Eating just one slice of bacon a day linked to higher risk of colorectal cancer, says study. Online: https://edition.cnn.com/2019/04/17/health/colorectal-cancer-risk-red-processed-meat-study-intl/index.html?no-st=1557204861
[2] https://www.iarc.fr/wp-content/uploads/2018/07/Monographs-QA_Vol114.pdf
[3] Bradbury, K. E., Neil Murphy and Timothy J Key. 2019. Diet and colorectal cancer in UK Biobank: a prospective study, International Journal of Epidemiology, https://doi.org/10.1093/ije/dyz064
[4] https://scienceblog.cancerresearchuk.org/2015/10/26/processed-meat-and-cancer-what-you-need-to-know/