เรื่องเล่า ข้าวไรซ์เบอร์รี่

บทความนี้เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับข้าวไรซ์เบอร์รี่ สายพันธ์ุข้าวที่โดดเด่น และได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคอย่างรวดเร็ว เราจะมาเล่าที่มาที่ไปของข้าวสายพันธ์ุนี้ก่อนละกัน ข้าวไรซ์เบอร์รี่ มีจุดเริ่มต้นเมื่อปี 2545 ทีมวิจัยของ ศ.ดร.อภิชาติ วรรณวิจิตร ศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เล็งเห็นถึงปัญหาของข้าวไทยและความต้องการของผู้บริโภคข้าวไทยในอนาคตที่เน้นกลุ่มข้าวที่เป็นมิตรต่อสุขภาพ ทีมวิจัยได้เลือกพันธุ์ข้าวเจ้าหอมนิลเป็นพ่อ และข้าวขาวดอกมะลิ 105 เป็นแม่ ซึ่งสองสายพันธ์ุนี้มีลักษณะเฉพาะที่แตกต่าง ข้าวเจ้าหอมนิลอุดมไปด้วยสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ให้สีเข้ม แต่ข้อเสียคือ

อาหารที่ถูกทิ้ง

ปัญหาอาหารถูกทิ้งหรือ Food waste เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่เป็นผลพวงของความไม่เท่าเทียมกันของการเข้าถึงอาหาร มาตรฐานเพื่อการบริโภค และการกินตามใจปากแบบไม่ประมาณตัวเอง อาหารที่ผลิตได้บนโลกนี้ถูกทิ้งเปล่าๆโดยไม่ได้ประโยชน์ถึง 1 ใน 3 ขณะที่ประชากรบางส่วนบนโลกอดอยาก ถามว่าอาหารที่ถูกทิ้งเหล่านี้คิดน้ำหนักเท่าไร… คำตอบคือ 1.3 พันล้านตัน/ปี ใช่อ่านไม่ผิด 1.3 พันล้านตัน/ปี คิดดูนะ ทิ้งแล้วยังต้องมาจัดการกับขยะเหล่านี้อีก

แม้เศรษฐกิจไม่ดี แต่ก็มีอะไรดีดีเกิดขึ้น

เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา พาดหัวข่าวของประชาชาติ เรื่อง “สิงห์-ช้าง วืดเป้า เบียร์แสนล้านซึม กำลังซื้อทรุดนัก” เมื่ออ่านข่าวนี้ หัวใจเราพองโต ดีใจสุดๆ โฆษณาของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) กับสโลแกนที่ว่า “จน เครียด กินเหล่า” และการรณรงค์อื่นๆ ที่ทำมาอย่างต่อเนื่อง

ว่าด้วยเรื่องของไข่ ตอนที่ 2

หลังจากประเดิมลงบทความปฐมบท เรื่อง “ว่าด้วยเรื่องของไข่”ไปเมื่อ 30 ตุลาคม ที่ผ่านมา ทำให้ตัวเราเองเปลี่ยนมาซื้อไข่เบอร์เล็กแทนไข่เบอร์ใหญ่ และอาจทำให้ใครหลายคนที่ได้อ่านแอบเปลี่ยนความคิดเช่นกัน แต่ก็มีความสงสัยตามมาในหัวว่า จะเบอร์เล็ก เบอร์ใหญ่ เบอร์ไหนก็ช่าง…แล้วเราควรกินวันละกี่ฟอง จึงเรียกว่าพอเหมาะพอดี บทความภาคต่อ ที่เราทำการบ้านมานี้มีคำตอบ  แต่แหม…จะเขียนทั้งที ก็ต้องได้อะไรมากกว่าแค่คำตอบว่ากินได้กี่ฟอง เราได้มีโอกาสคุยถึงเรื่องไข่กับหลายคน ทุกคนยอมรับว่า ไข่

เมื่อรัฐจะเก็บ “ภาษีของเค็มและไขมันทรานส์”

เมื่อไม่นานมานี้หลายคนคงตื่นเต้นกับเรื่องไม่ใหม่แต่ไม่ค่อยคุ้นหูที่จู่ ๆ ภาครัฐนำโดยกระทรวงสาธารณสุขประกาศเตรียมห้ามผลิต นำเข้า และจำหน่ายกรดไขมันทรานส์ หรือที่รู้จักในชื่อ ทรานส์แฟท (Trans Fat) ในประเทศไทย โดยชี้ชัดว่าเจ้าไขมันทรานส์เป็นภัยต่อสุขภาพ เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด จากการที่เราบริโภคอาหารและขนม เช่น เค้ก ขนมปัง หรือ โดนัท ที่ใช้เนยขาว เนยเทียม

อาหารตามสั่งที่เซเว่น ทางเลือกที่เป็นประเด็น

ร้าน7-ELEVEN ALL meal ในซอยประชาสงเคราะห์23 เป็นสาขานำร่องที่เปิดให้บริการอาหารตามสั่งที่ทำกันสดๆบางรายการก็ใช้เครื่องนึ่งรวมถึงกาแฟสดและเบเกอรี่  มีหลายฝ่ายออกมาวิพากย์วิจารณ์ถึงความไม่เหมาะสมของเซเว่นอีกครั้ง ทำไมเซเว่นถึงเลือกเดินเกมนี้ เราขอออกตัวก่อนเลยว่าเราไม่ใช่ลูกค้าประจำเซเว่นแต่เรามักใช้บริการเซเว่นเมื่อเราไปในที่ที่ไม่คุ้นเคย หรือไปเป็นครั้งแรก ไม่รู้ว่าจะไปหาอะไรกินตรงไหน เพื่อนที่รู้จักแถวนั้นก็ไม่มี เซเว่นจึงเป็นทางเลือกที่เซฟสุดสำหรับเรา นั่นเป็นเพราะเซเว่นเป็น“ทางเลือก” รู้มั้ยเพราะอะไร   ก็เพราะเราไม่อยากเสี่ยงไปกับร้านอาหารที่เราไม่รู้ว่ารสชาติอร่อยรึเปล่าแต่ถ้าร้านใกล้แถวนั้นเราเห็นแววว่าน่าจะอร่อยสังเกตจากมีคนต่อคิวนั่งกินในร้านเยอะหรือมีรถจอดหน้าร้านเยอะมั้ยถ้ามีหนึ่งในนี้ เซเว่นไม่ได้เงินจากเราแน่นอน  การตัดสินใจแบบนี้เป็นผลจากการที่เรากลัวการสูญเสีย (Loss aversion) ซึ่งมีอยู่ในตัวเราอยู่เป็นปกติทำให้เราไม่กล้าที่จะเสี่ยงกลัวจ่ายเงินแล้วไม่อร่อย แต่อย่างน้อย เราก็รู้ว่ารสชาติของอาหารที่ขายในเซเว่นเป็นอย่างไร การเดินหมากเชิงรุกในเกมการตลาดของเซเว่นตานี้ ก็เข้ามาตอบโจทย์คนอย่างเรานี่แหละคือ เพิ่มทางเลือกให้กับเรา  หลายๆ คนวิตกกังวลว่าพ่อค้าแม่ค้ารายย่อยจะได้รับผลกระทบจากหมากเกมนี้ของเซเว่น

เสน่ห์ของการกินก๋วยเตี๋ยวแบบไม่ปรุง

ก๋วยเตี๋ยวเป็นอาหารที่อยู่คู่กับคนไทยมานาน คาดว่าจะเข้ามาตั้งแต่สมัยอยุธยา ซึ่งเป็นที่นิยมในกลุ่มชาวจีน หากแต่ก๋วยเตี๋ยวได้เป็นที่รู้จักและนิยมสำหรับคนไทยในวงกว้างอันเนื่องมาจากเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่ปี 2485 ซึ่งตรงกับสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม  ผลของน้ำท่วมกรุงเทพตอนนั้น ทำให้เหล่าท่านผู้นำและคณะต้องไปประชุม ครม. ทางเรือ แล้วมีการทำก๋วยเตี๋ยวเลี้ยงที่ทำเนียบ คาดว่าจะเป็นที่ชื่นชอบของท่านผู้นำ เพราะมีรัฐนิยมฉบับหนึ่ง รณรงค์ให้คงไทยกินก๋วยเตี๋ยว เปิดคอร์สสอนทำก๋วยเตี๋ยวด้วย แถมท่านผู้นำยังแจกรถเข็นให้ไปทำก๋วยเตี๋ยวขายอีก ที่เด็ดคือ กรมประชาสัมพันธ์ได้แต่งเพลงเชียร์ให้คนกินก๋วยเตี๋ยวกันเลยจ้า

กินก่อนหรือหลัง เรื่องเล็กๆจากก๋วยเตี๋ยว ที่บ่งบอกตัวเรา

เวลาเราหิวมากๆ อาหารคำแรกที่เรากิน จะมีรสชาติดีที่สุด ด้วยเหตุนี้ “ความหิวจึงเป็นซอสปรุงรสที่ดีที่สุดในโลก” คำถัดมาจะอร่อยน้อยลง และจะน้อยลงเรื่อยๆ พร้อมไปกับการที่ความหิวจะค่อยๆ คลายลง คำสุดท้ายที่เรากินจะมอบฟินที่น้อยที่สุดเมื่อเทียบกับคำแรก ขณะเดียวกันความอิ่มก็จะค่อยๆ เพิ่มขึ้นจนถึงจุดที่เราอิ่มเปรียบเหมือนฟินจะสะสมเพิ่มขึ้นจนถึงจุดที่สูงที่สุด จากคำถามข้างต้น เราขอยกตัวอย่างลูกชิ้นเป็นของโปรดของคุณ คุณเป็นคนกลุ่มไหน ชอบกินลูกชิ้นก่อน หรือเก็บของโปรดไว้กินท้ายสุด หากคุณกินลูกชิ้นก่อนเป็นอันดับแรก คุณเป็นกลุ่มคนที่ชอบให้ความสุขกับตัวเอง โดยมีความหิวและรสชาติจะช่วยเติมเต็ม

น้ำตาลคือจำเลย

ปัจจุบันมีความพยายามที่จะทำให้คนไทยเลิกกินน้ำตาล ซึ่งจะไม่ยุติธรรมกับ “น้ำตาล” และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับน้ำตาลเท่าไร เราเองก็มีส่วนได้รับประโยชน์จากน้ำตาล ครอบครัวของเรามีไร่อ้อย อยู่ในจังหวัดกาญจบุรี ขายอ้อยให้กับโรงงานน้ำตาล ช่วงฤดูฝนของทุกปีจะต้องมาลุ้นว่าปีนี้ฝนจะเยอะมั้ย ถ้าไม่เยอะก็ต้องสูบน้ำเข้าไร่อ้อย เสียค่าน้ำมันไม่ใช่น้อยต่อการสูบแต่ละครั้ง ต้องใส่ปุ๋ยบำรุงดิน เพื่อให้ได้น้ำหนัก ได้ค่าความหวาน และสุดท้ายก็จะต้องลุ้นว่าราคาอ้อยจะเป็นอย่างไร ราคาอ้อยปีนี้ประมาณตันละ 680 บาท ซึ่งกระทบต่อเกษตรกรผู้ปลูกอ้อยทั้งหลาย ครม.

ว่าด้วยเรื่องของไข่

เราเป็นผู้หญิงตัวเล็กๆ ถึงขั้นเรียกกว่าอยู่ในกลุ่มน้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์ก็กว่าได้ (BMI 17.8 ซึ่ง ช่วงของเกณฑ์ปกติ คือ 18.5–22.9) ปัญหาหนึ่งของเราคือคลอเรสเตอรอลในเส้นเลือดสูง ซึ่งคนที่ผอมทั้งหลายมักจะมีปัญหานี้ เคยคิดเล่นๆว่า เป็นเพราะเราไม่มีไขมันให้คลอเรสเตอรอลไปสะสม คุณเธอเลยมาอยู่ในเลือดแทนมั้ง ความตั้งใจของเราคือ กินไข่วันละฟอง โดยเราจะเลือกกินไข่ต้ม ยิ่งต้มได้ยางมะตูมยิ่งฟิน จริงๆไข่เจียว ไข่ดาวก็ชอบแต่เพราะอยู่คอนโด เมนูทอดและผัดถูกเราแบน