เรื่องหมู หมู ที่ไม่หมู

ปัญหาหมูราคาแพงกลับมาอีกครั้ง ไม่วายที่จะมีการเรียกร้องให้มีการกับกำดูแลจากหน่วยงานที่รัฐผิดชอบ เช่น กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ หากมองในมุมเศรษฐศาสตร์แล้วนั้น การแทรกแซงใด ๆ เป็นการบิดเบือนตลาดทำให้เกิดผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบ จึงควรปล่อยให้ มือที่มองไม่เห็น (Invisible hand) หรือ กลไลตลาด ทำงาน ซึ่งอาจต้องใช้เวลาสักหน่อย ปัญหาราคาหมูแพง ก็จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ  สำหรับหมูแพง

โพรไบโอติกส์ ช่วยคุณได้ แต่บางครั้งมันก็ไม่ใช่

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินและการใช้ชีวิตยังคงเป็นปัจจัยแรกหากเราต้องการจะแก้ปัญหาเรื่อง ‘อ้วน’ หรือน้ำหนักตัวที่ไม่พึงประสงค์ แต่บางครั้งเราปรับการกินแล้ว ออกกำลังกายก็แล้ว สุดท้ายน้ำหนักก็ไม่ได้ลดลงหรือดีไม่ดี เพิ่มขึ้นมาให้เจ็บใจอีกต่างหาก  หลายคนรับประทานโยเกิร์ต เพื่อสุขภาพ หลายยี่ห้อมีคำโตๆ ว่า “โพรไบโอติกส์” (Probiotics) เพื่อบอกว่าโยเกิร์ตกระปุกนี้มีอะไรดี ‘โพรไบโอติกส์’ หรือจุลินทรีย์มีชีวิตที่ช่วยให้ระบบย่อยในสำไส้เราทำงานได้ดี แต่ก็ไม่ใช่กับทุกคน!!! มีงานวิจัยพบว่า คนที่กินยาปฏิชีวนะอยู่ไม่ควรกินโพรไบโอติก เพราะจุลินทรีย์นี้จะขยายตัวอย่างรวดเร็วจนไปแทนที่แบคทีเรียอื่น

วิธีรับมืออารมณ์อยากซื้อจากหลุมพรางของนักการตลาด

ล็อคดาวน์ บริษัทยักษ์ใหญ่ยื่นล้มละลาย ตกงาน เหล่าหนี้ส่งผลให้อัตราการหดตัวของการเติบโตทางเศรษฐกิจติดลบ  เพื่อความอยู่รอดของธุรกิจทั้งหลายภายใต้สถานการณ์เช่นนี้ นักการตลาดขุดหลุมดักเราทุกรูปแบบ ลองมาดูตัวอย่างว่าเราเจอกับอะไรบ้าง แล้วเราจะรับมือกันอย่างไร ลดราคา มักดึงเงินจากกระเป๋าเราได้บ่อยครั้ง ด้วยเหตุที่ราคาเป็นตัวเลข เป็นสิ่งที่เด่นชัดที่สุดที่เราใช้ประเมินง่ายที่สุด และเปรียบเทียบได้ง่ายที่สุด กลยุทธ์นี้คงอยู่ทุกยุคทุกสมัย ยิ่งในภาวะการณ์ที่ไม่แน่นอน แต่ตัวเลขราคาแน่นอน เพราะเห็นอยู่ตรงหน้า สินค้าเดียวกัน เจ้าหนึ่งมีราคาติดชัดเจน ขณะที่อีกเจ้าไม่บอกราคา

ใครหนอเป็นคนบอกว่า ราคานี้ “ยุติธรรม”

ผลพวงจาก Covid-19 ทำให้เกษตรกรหลายรายต้องหันมาขายของออนไลน์ผ่านช่องทาง Market plance ต่าง ๆ  ประโยชน์จากเครือข่ายสังคมออนไลน์ผ่าน facebook จากการตั้งกลุ่มที่อาศัยศิษย์ร่วมสถาบันมารวมตัวกันอย่าง ม.เกษตร ที่มี KU-จะฝากร้าน เกษตรแฟร์ออนไลน์ (ยังมีอีกหลายสถาบัน แต่เราขอไม่กล่าวถึงในที่นี้เพราะไม่ได้ไม่ได้ติดตาม)  ผู้ขายใช้แพลตฟอร์มอย่าง facebook เปิดตัว นำเสนอสินค้าต่าง

ออฟไลน์และออนไลน์ – สเน่ห์ที่แตกต่าง

ยอดขายออนไลน์ได้ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นจนทำให้การส่งสินค้าของบางเจ้าล่าช้าตามที่เป็นข่าว แม้ว่าเราจะไม่ได้อยากอยู่ในสถานการณ์แบบนี้ แต่นี่ถือเป็นสิ่งหนึ่งที่ Covid-19 ได้บีบให้เราต้องปรับตัว  คนขายของออฟไลน์  เมื่อหน้าร้านขายไม่ได้ก็ยกร้านมาไว้ในช่องออนไลน์ ต่อลมหายใจที่รวยรินให้หลายชีวิตได้ไม่น้อย ผู้ซื้ออย่างเราการจ่ายเงินซื้อจะมีความเจ็บปวดเกิดขึ้นเสมอ แต่ก็มีความสุขที่ได้ซื้อด้วยเช่นเดียวกัน โดยเรามีทางเลือก เลือกว่าจะจ่ายเงินก่อน จ่ายเงินทันที หรือจ่ายเงินหลังด้วยเครดิต (ทั้งแบบบัตรเครดิต และแบบแปะโป้งไว้ก่อน) หากลองสังเกตดูความสุขที่ได้จากการจ่ายต่างช่วงเวลา ส่งผลต่อความสุขและความเครียดของเราแตกต่างกัน การซื้อออฟไลน์หรือซื้อที่หน้าร้านมักเน้นการจ่ายทันที และมีการจ่ายหลังด้วยเครดิตบ้างแต่ไม่มากนัก

5,000 จะใช้อย่างไรดี

คาดว่ามาตรการเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจาก Covid-19 รายละ 5,000 บาทเป็นระยะเวลา 3 เดือน ที่หลายคนเฝ้ารอจะทยอยได้กันเร็ว ๆ นี้  คำถามคือ เราควรจะใช้เงินจำนวนนี้อย่างไร แล้วมันทำให้เรารู้สึกอย่างไร แม้ว่าหลายคนจะไม่ได้อยากได้ แต่เงินได้เปล่าก้อนนี้ ก็ทำให้ยอดการลงทะเบียนมากกว่า 23 ล้านคน ประมาณว่าลงทะเบียนไว้ก่อน แม้ว่าหลายคนจะไม่ได้เข้าเกณฑ์ที่กำหนดก็ตาม

อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ ระวัง “หนี้”

EatEcon กลับมาอีกครั้ง หลังห่างหายกันไปนาน กลับมาคราวนี้ต้องขอบคุณ Covid-19 ที่ทำให้เราได้ “อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ” จากที่ต้องออกไปทำงานทุกวัน บางสัปดาห์ 7 วัน ไม่มีวันหยุด พอ Covid-19 เริ่มระบาดรุนแรงและเป็นวงกว้าง เราต้องเปลี่ยนบ้านให้เป็นที่ทำงานเหมือนเช่นหลายคน ขณะที่หลายคนต้องหยุดงาน ได้เงินเดือนบ้าง

“ชาวสวนขายเองค่ะ ราคาไม่แพง”

ในช่วงฤดูกาลของผลไม้ออกสู่ตลาดนำนวนมากจนเกิดภาวะล้นตลาด เรามักจะเห็นรถกระบะบรรทุกผลผลิตทางการเกษตรมาขายริมทาง ซึ่งราคามักจะถูกกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับราคาขายในตลาดทั่วไป โดยผู้ขายมักจะบอกว่า “ชาวสวนมาขายเองค่ะ ราคาไม่แพง”  พวกเราก็มักจะอุดหนุนติดไม้ติดมือกลับมา อันที่จริงแค่บอกว่าชาวสวนมาขายเอง ความยินดีที่จะซื้อของพวกเราก็เพิ่มขึ้นแล้ว เพราะเรามีภาพในใจว่า… เกษตรกรนั้นเป็นอาชีพที่ลำบาก รายได้น้อย และเมื่อมีโอกาสอุดหนุนโดยตรง มีหรือที่เราจะไม่ช่วยสนับสนุน ได้ผลผลิตสด ๆ จากสวน ถือเป็นข้อดีเด้งแรก และจ่ายในราคาที่ไม่ต้องผ่านคนกลาง ถือเป็นข้อดีเด้งที่

อยากกินแพง แต่เสียดายเงิน จะทำยังไงดี

เมื่อเอ่ยถึงภาวะเศรษฐกิจช่วงนี้ ทุกคนลงความเห็นเหมือนกันว่า ‘แย่’ ประชาชนคนไทยระมัดระวังในการใช้จ่าย แม้ว่ารัฐจะกระตุ้นด้วยมาตรการ “ชิม ช็อป ใช้” แจกเงินให้ใช้กันฟรี ๆ คนละ 1,000 บาท แถมมีกระเป๋าสองถ้าอยากจ่ายเงินแล้วได้เงินคืน  ในมุมของเรา นโยบายไม่น่าจะกระตุ้นเศรษฐกิจได้ดังหวัง เพราะข้อจำกัดเยอะสุด ๆ กว่าจะแย่งกันลงทะเบียนได้ ก็อดตาหลับขับตานอน

บันทึกการเดินทาง ตอน มะม่วงน้ำดอกไม้

3 ตุลาคม 2562  ทีมวิจัยผลไม้ของภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร (ซึ่งเราได้มีโอกาสเป็นส่วนเล็ก ๆ ของโครงการวิจัยนี้) ได้ไปเยี่ยมชมสวนมะม่วงน้ำดอกไม้ของคุณมนตรี ศรีนิล ผู้ยึดอาชีพชาวสวนมะม่วงน้ำดอกไม้ มานานกว่า 30 ปี  การเดินทางไปครั้งนี้เพื่อไปหาคำตอบว่าตอนนี้ชาวสวนมะม่วงน้ำดอกไม้เป็นอย่างไรกันบ้าง มีปัญหาอะไรที่ยังแก้กันไม่ตก และชาวสวนต้องการเทคโนโลยีหรือเครื่องมืออะไรที่อยากนำมาใช้ในการผลิต เราออกเดินทางกันตั้งแต่ 6 โมงเช้า เพื่อเลี่ยงปัญหาการจราจร

1 4 5 6 7 8 12