พ่อค้าคนกลาง จำเลยของคนมักง่าย แต่ไม่ง่ายที่จะตัดออก

เรื่องโดย ผศ.ดร.สุวรรณา สายรวมญาติ ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ่อค้าคนกลาง กดราคา คำพูดที่เราได้ยินอยู่เสมอ วาทะกรรมของคนที่ไม่เข้าใจการทำธุรกิจ ขายของไม่ได้ราคา ราคาสินค้าตกต่ำ นึกอะไรไม่ออก โทษพ่อค้าคนกลางไว้ก่อนว่ากดราคา สินค้าเกษตร มีคุณสมบัติแตกต่างจากสินค้าอุตสาหกรรม เรื่องความเป็นฤดูกาล (seasonality) ผลผลิตออกสู่ตลาดเป็นช่วง ๆ

ยุทธศาสตร์ทุเรียนไทย ที่หนึ่งในใจ หาใช่ยอดขาย

เรื่องโดย ผศ.ดร.สุวรรณา สายรวมญาติ ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผลการส่งออกทุเรียนไตรมาสแรกของปี 2567 (มกราคม-มีนาคม) สื่อทั้งหลายออกมาตีข่าวทุเรียนไทยไตรมาส 1 ยอดส่งออกลดลง อาจเสียแชมป์เบอร์หนึ่งผู้ส่งออกทุเรียนไทยให้กับเวียดนาม สร้างความขุ่นเคืองไม่น้อยให้กับชาวสวนทุเรียนที่กำลังเครียดกับผลผลิตที่เสียหายอันเนื่องมาจากสถาพภูมิอากาศที่ร้อนระอุ แม้แต่คนอย่างเรายังทนไม่ไหว นับประสาอะไรกับทุเรียน ทุเรียนคือผลไม้ที่มีความเป็นฤดูกาลสูง ด้วยสภาพอากาศของปีนี้ร้อนสูงเป็นประวัติการณ์ ทำให้ผลผลิตออกสู่ตลาดช้ากว่าปกติ ทุเรียนหลายสวนแตกคาต้น

เหตุที่ภาครัฐดูแคลนภาคปศุสัตว์โดยเฉพาะเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกร

การดูแคลนภาคปศุสัตว์โดยเฉพาะเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรที่มีส่วนสำคัญในการกระตุ้นเศรษฐกิจได้สะท้อนผ่านอัตราการเจริญเติบโตของ GDP ในปี 2566 เพียงแค่ 1.8% ตามที่สำนักงานเศรษฐกิจการคลังแถลงเมื่อวันที่ 24 มกราคม 2567 ที่ผ่านมา สวนทางกับการคาดการณ์ของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ระบุไว้ตอนต้นปี 2566 ว่าประเทศไทยจะมีการขยายตัว 2.4% มากกว่าความเป็นจริงไป 0.6% การคาดการณ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) พลาดเป้า ทำให้หลายฝ่ายเห็นแย้งกับการดำเนินนโยบายของ

ผ่าทางตันต้นทุนอาหารสัตว์

เริ่มต้นปี 2567 สถานการณ์ด้านราคาหมูขุนมีชีวิตก็กระเตื้องขึ้นมากบ้างที่ 68 – 74 บาท/กก. โดยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในช่วงตรุษจีนที่ราคา 80 บาท/กก. ให้พอให้ผู้เลี้ยงหมูที่เหลืออยู่น้อยนิดให้หายใจคล่องขึ้นมาบ้าง หลังจากขาดทุนมาตลอดทั้งปี 2566 ระหว่างทางก็มีผู้เลี้ยงรายย่อยจำนวนมากตัดสินใจเลือกเลี้ยงหมูไปเป็นจำนวนมาก แม้ว่าสถานการณ์ด้านราคาจะดีขึ้น แต่เมื่อกลับไปพิจารณาต้นทุนนับว่าน่าหนักใจสำหรับชาวหมู เนื่องจากต้นทุนธัญพืชอาหารสัตว์มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นอย่างมาก เนื่องจากปัจจัยรุมเร้าที่หนักหน่วงทั้งสถานการณ์ภัยแล้งจาก El Niño

หมูเถื่อน…กว่าถั่วจะสุก งาก็ไหม้

เรื่องโดย ผศ.ดร.สุวรรณา สายรวมญาติ ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นับตั้งแต่กรมปศุสัตว์ประกาศว่าประเทศไทยพบเชื้อไวรัสแอฟริกันอหิวาต์ในสุกรเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2565 สิริรวมเวลาเกือบ 2 ปี จนเกิดงานแถลงข่าว ผลการตรวจสอบขบวนการหมูเถื่อนของอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ DSI เมื่อวันที่ 24 พฤจิกายน

หมูเถื่อน ขบวนการขจัดผู้เลี้ยงหมูตัวเล็กอย่างเลือดเย็น

เรื่องโดย ผศ.ดร.สุวรรณา สายรวมญาติ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เหตุการณ์สูญเสียนายสราวุฒิ ประจวง หัวหน้าด่านกักกันสัตว์เพชรบูรณ์ กรมปศุสัตว์ ถูกยิงเสียชีวิตในขณะปฏิบัติหน้าที่ตรวจสอบห้องเย็น ซึ่งเป็นสถานที่เก็บเนื้อและซากสัตว์เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2566 ที่ผ่านมา สร้างความสลดหดหู่ให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงหมูและวัวเป็นอย่างมาก หวังว่าการสูญเสียครั้งนี้จะสร้างแรงกระเพื่อมให้ภาครัฐเอาจริงเอาจังกับการปราบปรามการค้าเนื้อสัตว์เถื่อนที่กำลังถอนรากถอนโคนเกษตรกรผู้เลี้ยงหมูอย่างเลือดเย็น ปัจจุบันเกษตรกรรายย่อยขายหมูได้จริงในราคา 52 –

จำปาดะ อนาคตพืชเศรษฐกิจที่มิอาจมองข้าม

จำปาดะ เป็นผลไม้ประจำจังหวัดสตูล หน้าตาคล้ายขนุน เนื้อสีเหลืองออกส้ม เนื้อนิ่ม กลิ่นแรงกว่าขนุนมากแต่เนื้อบางกว่าขนุน เป็นที่ผลไม้ที่นิยมรับประทานกันในภาคใต้ทั้งในรูปแบบกินสุกแบบผลไม้สดและทอดกรอปคล้ายกล้วยทอดที่เราคุ้นเคย ผู้เขียนพึ่งมีโอกาสได้ลิ้มรสเมื่อครั้งไปงานแต่งญาติที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี แม้จะเป็นคนไม่รับประทานขนุน แต่พอได้ทานจำปาดะชุบแป้งทอดแล้วต้องยกนิ้วให้ อร่อยเลยค่ะ แต่ก็ใช่ว่าจะหาทานง่าย ราคาขายจำปาดะทอดก็ไม่เบา เม็ดละ 3 – 5 บาท คนขายบอกว่า ปีนี้จำปาดะราคาแพง

นโยบายรัฐ: ตัวชี้วัดความอยู่รอดของอุตสาหกรรมหมูไทย

เรื่องโดย ผศ.ดร.สุวรรณา สายรวมญาติ ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร  คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เรื่องโดย ผศ.ดร.สุวรรณา สายรวมญาติ ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร  คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตั้งแต่ต้นปี 2566 เป็นต้นมา ราคาขายหมูมีชีวิตหน้าฟาร์มปรับตัวลดลงมาอย่างต่อเนื่อง หากแต่ต้นทุนการผลิตหมูขุนของไทยยังคงทรงตัวในระดับสูงตั้งแต่ต้นปี มาปรับตัวลดลงในช่วงเดือนพฤษภาคม (ภาพที่  1)

แนวทางปรับปรุงกฎหมายและมาตรการทางกฎหมายเพื่อส่งเสริมการดำเนินงานของสหกรณ์โคเนื้อ

เรื่องโดย สุวรรณา สายรวมญาติ และศุภธัช ศรีวิพัฒน์ ในอดีตที่ผ่านมาภาครัฐมีนโยบายส่งเสริมการรวมกลุ่มและการสร้างเครือข่ายของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อทั้งในรูปแบบของวิสาหกิจชุมชนและสหกรณ์ หากแต่การดำเนินตามนโยบายที่ผ่านมาไม่มีความต่อเนื่อง ขึ้นอยู่กับกรอบงบประมาณ ไม่มีความยั่งยืน จึงทำให้การส่งเสริมการผลิตโคเนื้อคุณภาพผ่านวิสาหกิจชุมชนและสหกรณ์ยังไม่บรรลุเป้าหมายดังที่คาดหวัง มีสาเหตุหลายประการ หนึ่งในนั้นคือ ข้อกำหนด กฎระเบียบ และมาตรการกฎหมาย รวมทั้งที่ไม่เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจสหกรณ์โคเนื้อที่ควรได้รับการแก้ไข ได้แก่ 1) พระราชบัญญัติสหกรณ์ มาตรา

ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อสนับสนุนการผลิตและการค้าโคเนื้อคุณภาพของไทย

เรื่องโดย สุวรรณา สายรวมญาติ และศุภธัช ศรีวิพัฒน์ อุปสงค์การบริโภคเนื้อโคคุณภาพของผู้บริโภคในประเทศที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่กำลังการผลิตโคขุนคุณภาพภายในประเทศไม่สามารถตอบสนองได้ทัน ทำให้ประเทศไทยต้องนำเข้าโคมีชีวิต เนื้อโคและผลิตภัณฑ์หลายพันล้านบาทต่อปี นโยบายของภาครัฐที่ผ่านมาได้ส่งเสริมให้การเลี้ยงโคขุนเป็นอาชีพหลักของเกษตรกร ซึ่งได้สนับสนุนการรวมกลุ่มการเลี้ยงและถ่ายเทคโนโลยีการเลี้ยงโคเนื้อ ทำให้ปริมาณการผลิตโคเนื้อในช่วงปี พ.ศ. 2561-2566 เพิ่มสูงขึ้น (ตารางที่ 1) (สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2566) ตารางที่

1 2 3 6