ราคาหมูหน้าฟาร์มลงแล้ว…ทำไมเรายังต้องซื้อหมูแพง?

ราคาหมูหน้าฟาร์มลงแล้ว แต่ทำไมเรายังกินหมูแพง หากเข้าไปดูประกาศของสมาคมผู้เลี้ยงสุกรจะพบว่า ราคาหมูขุนหน้าฟาร์ม ณ วันที่ 9 พฤศจิกายน 2563 ซื้อขาย 72-77 บาท/กิโลกรัม [1] ราคาเนื้อแดงหน้าเขียงก็ควรจะอยู่ที่ 144-154 บาท เหตุไฉนราคาที่เราซื้อยังเกิน 160 บาท??? สิ่งที่คนเลี้ยงหมูต้องเผชิญกันจนชินชา   หมูแพงร้องดัง หมูถูกไม่มีใครสนใจ

จะเกิดอะไรขึ้น…ถ้าอนุญาตให้นำเข้าเนื้อหมูจากสหรัฐอเมริกา

พาดหัวข่าวในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา …สหรัฐฯ ประกาศตัดสิทธิ์ GSP (Generalized System of Preferences) ของไทยเพิ่มเติมคิดเป็นมูลค่า 25,000 ล้านบาท GSP คือ สิทธิพิเศษทางภาษีที่เราเคยได้ลดหย่อน ในการส่งออกสินค้าไทยไปยังสหรัฐฯ ต่อไปเราจะไม่ได้สิทธิ์นั้น แต่เรายังสามารถส่งออกสินค้าได้เหมือนเดิม แค่ต้องเสียภาษีในอัตราปกติ

Plant-based meat : เนื้อสัตว์จากพืชที่ก้าวขึ้นมาเทียบเนื้อสัตว์ที่เราคุ้นเคย

งานวิจัยหลายชิ้นชี้ว่าการกิน ‘เนื้อสัตว์’ เป็นส่วนหนึ่งของสาเหตุโลกร้อน อันเนื่องมาจากกระบวนการเลี้ยงที่ใช้ทรัพยากรดินและน้ำ รวมถึงระบบขนส่งตั้งแต่ต้นน้ำจนปลายน้ำ ก่อให้เกิดการพัฒนาเนื้อสัตว์จากพืช (Plant-based meat)

เรื่องหมู หมู ที่ไม่หมู

ปัญหาหมูราคาแพงกลับมาอีกครั้ง ไม่วายที่จะมีการเรียกร้องให้มีการกับกำดูแลจากหน่วยงานที่รัฐผิดชอบ เช่น กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ หากมองในมุมเศรษฐศาสตร์แล้วนั้น การแทรกแซงใด ๆ เป็นการบิดเบือนตลาดทำให้เกิดผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบ จึงควรปล่อยให้ มือที่มองไม่เห็น (Invisible hand) หรือ กลไลตลาด ทำงาน ซึ่งอาจต้องใช้เวลาสักหน่อย ปัญหาราคาหมูแพง ก็จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ  สำหรับหมูแพง

ใครหนอเป็นคนบอกว่า ราคานี้ “ยุติธรรม”

ผลพวงจาก Covid-19 ทำให้เกษตรกรหลายรายต้องหันมาขายของออนไลน์ผ่านช่องทาง Market plance ต่าง ๆ  ประโยชน์จากเครือข่ายสังคมออนไลน์ผ่าน facebook จากการตั้งกลุ่มที่อาศัยศิษย์ร่วมสถาบันมารวมตัวกันอย่าง ม.เกษตร ที่มี KU-จะฝากร้าน เกษตรแฟร์ออนไลน์ (ยังมีอีกหลายสถาบัน แต่เราขอไม่กล่าวถึงในที่นี้เพราะไม่ได้ไม่ได้ติดตาม)  ผู้ขายใช้แพลตฟอร์มอย่าง facebook เปิดตัว นำเสนอสินค้าต่าง

“ชาวสวนขายเองค่ะ ราคาไม่แพง”

ในช่วงฤดูกาลของผลไม้ออกสู่ตลาดนำนวนมากจนเกิดภาวะล้นตลาด เรามักจะเห็นรถกระบะบรรทุกผลผลิตทางการเกษตรมาขายริมทาง ซึ่งราคามักจะถูกกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับราคาขายในตลาดทั่วไป โดยผู้ขายมักจะบอกว่า “ชาวสวนมาขายเองค่ะ ราคาไม่แพง”  พวกเราก็มักจะอุดหนุนติดไม้ติดมือกลับมา อันที่จริงแค่บอกว่าชาวสวนมาขายเอง ความยินดีที่จะซื้อของพวกเราก็เพิ่มขึ้นแล้ว เพราะเรามีภาพในใจว่า… เกษตรกรนั้นเป็นอาชีพที่ลำบาก รายได้น้อย และเมื่อมีโอกาสอุดหนุนโดยตรง มีหรือที่เราจะไม่ช่วยสนับสนุน ได้ผลผลิตสด ๆ จากสวน ถือเป็นข้อดีเด้งแรก และจ่ายในราคาที่ไม่ต้องผ่านคนกลาง ถือเป็นข้อดีเด้งที่

บันทึกการเดินทาง ตอน มะม่วงน้ำดอกไม้

3 ตุลาคม 2562  ทีมวิจัยผลไม้ของภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร (ซึ่งเราได้มีโอกาสเป็นส่วนเล็ก ๆ ของโครงการวิจัยนี้) ได้ไปเยี่ยมชมสวนมะม่วงน้ำดอกไม้ของคุณมนตรี ศรีนิล ผู้ยึดอาชีพชาวสวนมะม่วงน้ำดอกไม้ มานานกว่า 30 ปี  การเดินทางไปครั้งนี้เพื่อไปหาคำตอบว่าตอนนี้ชาวสวนมะม่วงน้ำดอกไม้เป็นอย่างไรกันบ้าง มีปัญหาอะไรที่ยังแก้กันไม่ตก และชาวสวนต้องการเทคโนโลยีหรือเครื่องมืออะไรที่อยากนำมาใช้ในการผลิต เราออกเดินทางกันตั้งแต่ 6 โมงเช้า เพื่อเลี่ยงปัญหาการจราจร

ขออย่าให้หมูกลายเป็นแพะ

ตอนนี้แวดวงของผู้เลี้ยงสุกรต่างร้อน ๆ หนาว ๆ ถ้วนหน้ากับการรุกรานของการระบาดโรคอหิวาต์แอฟริกา หรือ AFS ที่ทะลุการ์ดของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนที่เตรียมการรับมือป้องกันมาร่วมปีเข้ามาในเมืองไทยเรียบร้อย ณ จังหวัดเชียงราย แต่ยังไม่มีการรายงานความเสียหายที่เกิดขึ้นกับฟาร์มขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่นั้นและการระบาดไปยังพื้นที่อื่น ต้องยอมรับว่าวงการหมูไทยได้ต่อสู้กับการระบาด AFS ได้ยอดเยี่ยม ควบคุมพื้นที่ระบาดของโรคได้ดีเมื่อเทียบกับจีน เวียดนาม ลาว และพม่า โดยเฉพาะจีนที่มีความเสียหายอย่างหนัก AFS

ระบบอาหารที่ซ่อนอยู่ในส้มตำจานเด็ด

เมื่อสัปดาห์ก่อนเราซื้อหนังสือมาเล่มหนึ่งชื่อ ไกด์… ไม่ไร้สาระ สู่…อาหารโลก แปลมาจาก The No-Nonsense Guide to World Food เขียนโดย Wayne Roberts  หนังสือแปลเล่มนี้แปลมาจากฉบับปรับปรุงที่ตีพิมพ์เป็นครั้งที่ 2 ผู้เขียนเพิ่มเติมเนื้อหาบางส่วนที่เกิดขึ้นในช่วงปี 2008 – 2013

เมื่อ “ข้าว” กลายเป็น “สินค้าด้อยคุณภาพ”

งานวิจัยด้านเศรษฐศาสตร์หลายชิ้นได้ผลวิจัยออกมาในแนวทางเดียวกันว่า เมื่อรายได้ของผู้บริโภคสูงขึ้น ผู้บริโภคมีแนวโน้มที่จะไปบริโภคอาหารอื่นแทนข้าวเพิ่มมากขึ้น ในมุมของนักเศรษฐศาสตร์ ลักษณะแบบนี้เราเรียกว่า ‘สินค้าด้อยคุณภาพ’ คำว่า ‘สินค้าด้อยคุณภาพ’ ไม่ได้หมายถึงว่าคุณภาพไม่ดี คุณภาพของสินค้ายังดีเหมือนเดิม ข้าวยังหอม นุ่ม และอร่อยเหมือนเดิม แต่ “ข้าว” ด้อยค่าเสียแล้วในสายตาเรา และเรามักจะให้เป็นทางเลือกรองหากเรามีรายได้มากขึ้น จากงานวิจัยล่าสุดของเราที่ศึกษาพฤติกรรมการบริโภคข้าวของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร โดยสำรวจช่วงเดือนสิงหาคม –