มะพร้าวทึนทึก หัวใจความอร่อย

หลังจากวันหยุดยาวที่ผ่านมา เราได้มีโอกาสไปทำบุญเนื่องในวันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษา จึงได้เห็นอาหารทั้งคาวหวานโดยเฉพาะขนมไทยมากมายหลายชนิดที่สาธุชนได้พร้อมใจกันนำไปใส่บาตร เช่น ขนมเปียกปูน ขนมตาล ขนมต้ม ขนมถั่วแปป และ ขนมสอดไส้ ฯลฯ เกือบทุกชนิดจะมีมะพร้าวซึ่งถือว่าเป็นวัตถุดิบหลักสำคัญของขนมไทยเลยก็ว่าได้  ขนมไทยเราใช้มะพร้าวในหลายรูปแบบไม่ว่า กะทิ น้ำมะพร้าว หรือเนื้อมะพร้าว ทั้งที่มองเห็นและมองไม่เห็น ที่มองไม่เห็นก็มักจะใช้น้ำมะพร้าวหรือกะทิ และที่มองเห็นก็มักจะเป็นมะพร้าวที่ใช้โรยหน้าหรือทำไส้ขนมซึ่งนิยมใช้ ‘มะพร้าวทึนทึก’

มะพร้าวน้ำหอม ของดีที่มี GI

มะพร้าวน้ำหอมเป็นที่ชื่นชอบของใครหลายคน เราเองก็กินมาตั้งแต่เด็ก โดยไม่ต้องซื้อหา เพราะมีอยู่กับบ้าน  ทุกครั้งที่กลับบ้าน เตี่ยจะตัดมะพร้าวน้ำหอมมาให้หนึ่งทะลาย แล้วเราก็จะพุ่งไปหยิบมีดอีโต้ทันทีที่มะพร้าวมาถึง ปาดมะพร้าวสองสามที เฉาะกะลาสีเหลืองอ่อนนวลๆ ยกกระดกตรงนั้น โดยไม่ต้องใช้หลอด ขอบอกว่าฟินสุดๆ ยิ่งตัดมาตอนเช้า น้ำมะพร้าวจะเย็นซ่านิดๆ หอมชื่นใจ หากตัดมาตอนบ่าย น้ำมะพร้าวจะอุ่นหน่อย ซ่ามากกว่าตอนเช้า แม้จะไม่ฟินเท่าตอนเช้า แต่ก็ฟินเช่นกัน

ร้อนนี้ช่างร้อนนัก

ช่วงวันหยุดสงกรานต์ที่ผ่านมา หลายคนคงมีวิธีดับกระหายคลายร้อนกัน ลองมาดูสิว่ามีอะไรกันบ้าง เริ่มที่เครื่องดื่มดับกระหาย  คงปฏิเสธไม่ได้ว่าช่วงหน้าร้อนแบบนี้เป็นช่วงที่ผู้ขายน้ำทั้งหลายรอคอย ยอดขายน้ำอัดลมและเครื่องดื่มเย็น ๆ จะสูงสุดก็ช่วงนี้  และช่วงนี้เราก็เริ่มกลับมาติดหวานเสียด้วย คงต้องเพลา ๆ ลงหน่อย แต่ก็ไม่ได้งดนะ แค่กินให้พอดี ก็จะกินได้ทุกอย่าง ไม่ต้องงด  ข้อดีของน้ำตาลคือ ให้พลังงาน มันทำให้เราสดชื่น และมันช่วยเราคลายเครียดได้

อาหารพื้นถิ่นแห่งเซิงหวาย

ไก่ดำลือเลื่อง ครบเครื่องทั้งคาวหวาน อิ่มสำราญบ้านเซิงหวาย เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เราได้มีโอกาสพานิสิตสาขาวิชาธุรกิจการเกษตร ชั้นปีที่ 4 ไปดูงานโครงการ OTOP นวัตวิถี ที่มีแนวคิดจากการผนวกโครงการ OTOP มารวมกับการท่องเที่ยวเพื่อเรียนรู้วิถีชีวิตชุมชน ชุมชนเป้าหมายของเราในครั้งนี้คือ ชุมชนบ้านเซิงหวาย ต.ตลุกเทียม อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก ความหมายมั่นของเราทุกครั้งที่ได้ลงพื้นที่คือ การได้ลิ้มรสอาหารพื้นบ้านที่เรียบง่ายแต่เต็มเปี่ยมไปด้วยสเน่ห์

ข้าวพื้นเมืองคืนทุ่ง: ข้าวหอมนครชัยศรี

เมื่อข้าวพื้นเมืองหายไปจากท้องทุ่ง ของดีที่เคยมีถูกลืมเลือน ข้าวหอมนครชัยศรี เป็นหนึ่งในของดีแห่งทุ่งนครชัยศรีที่หายไปเมื่อ 40ปีก่อน อันเป็นผลพวงของการปรับปรุงพันธุ์ข้าวไม่ไวแสงจนเกิดเหตุการที่เรียกว่า‘ตกเขียว’ จนเมื่อสามปีก่อนกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านโฉนดชุมชนคลองโยง-ลานตากฟ้า ได้เชิญชวนสมาชิกกว่า 20 ชีวิต ร่วมกันอนุรักษ์ข้าวพันธุ์พื้นเมืองเหล่านี้เอาไว้ เพื่อให้ของดีแห่งทุ่งนครชัยศรียังคงอยู่ “ส้มโอหวาน ข้าวสารขาวลูกสาวสวย…” ส่วนหนึ่งของคำขวัญประจำจังหวัดนครปฐม ที่มีมาอย่างยาวนาน… อ่ะ ๆ ขึ้นต้นมาแบบนี้ อย่าเพิ่งคิดว่าเราจะมาพาทัวร์บ้านเกิดเชียวนะ แต่ก็คงไม่ผิด ถ้าสาวงามแห่งนครปฐมอย่างเรา จะภูมิใจในภูมิลำเนาแผ่นดินเกิด…และเรื่องราวที่เราจะนำมาเล่าสู่กันอ่านในสัปดาห์นี้

ว่าด้วยเรื่องของไข่ ตอนที่ 3

ตอนนี้ขอเล่าเรื่องไข่เป็ด ของเด็ดที่กำลังหายไป ทุกวันนี้หันไปทางไหนเราเจอแต่ไข่ไก่ จึงเกิดคำถามว่า แล้วไข่เป็ดไปไหนหมด ปกติบ้านเราจะชอบทานไข่เป็ด เพราะเลี้ยงกันเองในบรรดาญาติ โดยเฉพาะก๋งเรา ชอบเลี้ยงเป็ดมาก เลี้ยงมาตั้งแต่หนุ่มๆ แม้ช่วงท้ายของชีวิตก็ยังเลี้ยง แต่เลี้ยงไม่มาก ประมาณ 20-30 ตัว ก๋งบอกว่า นั่งมองเป็ดเพลินดี ก๋งเลี้ยงเป็ดแบบปล่อยให้หากินเองตามชายคลอง ให้อาหารหยาบเพิ่มในช่วงเย็น ไข่เป็ดของก๋งจึงอร่อย

กระเทียม พืชหลังนาที่แสนหอม

เมื่อบอกแม่ว่าจะไปศรีสะเกษ “ซื้อกระเทียมกลับมาด้วยนะ” นี่คือสิ่งแรกที่แม่นึกถึง แม่บอกว่าแม่ชอบกระเทียมของศรีสะเกษเพราะหอมกว่า ทำกับข้าวไทยอร่อยกว่า ปกติเวลาแม่ซื้อกระเทียมก็จะเลือกที่แก่จัด แล้วนำมาแขวไว้ที่ขื่อบ้าน ให้อากาศถ่ายเท ช่วยยืดอายุการเก็บรักษาได้ค่อนข้างนาน แม่เชื่อว่าคนที่ทำกับข้าวเองเค้าก็ใช้กระเทียมไทยกันอยู่นะ แม้ว่ากระเทียมไทยจะกลีบเล็กและมีราคาแพงกว่า (ราคากระเทียมไทยที่ขายตามตลาดนัดแถวบ้านเรา จะแพงกว่ากระเทียมจีนประมาณ 20-30 บาท/ก.ก. ก็นับว่าแพงเอาการอยู่) แต่กระเทียมใช้น้อย สามสี่กลีบต่อเมนู แบ่งซื้อมา 10-20

1 4 5 6