ฤา…เราเลือกที่จะไม่ฟัง

เรามักจะอยากได้ยินในสิ่งที่เราอยาก และหลีกเลี่ยงการได้ยินในสิ่งที่เราไม่อยากจะได้ยิน การเลือกทั้งสองยินทั้งสองแบบเป็นอคติทางด้านความคิด (Cognitive bias) ที่เราเคยชิน  การเลือกได้ยิน รับรู้ และเชื่อในสิ่งที่เราชอบหรือสนใจ เรียกว่า Confirmation bias ขณะที่การเลือกที่จะไม่ได้ยิน ไม่รับรู้ และไม่เชื่อ ในสิ่งที่เราไม่ชอบหรือไม่สนใจ เรียกว่า Information avoidance การเลือกแบบแรกทำให้เรามั่นใจ

มะพร้าวทึนทึก หัวใจความอร่อย

หลังจากวันหยุดยาวที่ผ่านมา เราได้มีโอกาสไปทำบุญเนื่องในวันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษา จึงได้เห็นอาหารทั้งคาวหวานโดยเฉพาะขนมไทยมากมายหลายชนิดที่สาธุชนได้พร้อมใจกันนำไปใส่บาตร เช่น ขนมเปียกปูน ขนมตาล ขนมต้ม ขนมถั่วแปป และ ขนมสอดไส้ ฯลฯ เกือบทุกชนิดจะมีมะพร้าวซึ่งถือว่าเป็นวัตถุดิบหลักสำคัญของขนมไทยเลยก็ว่าได้  ขนมไทยเราใช้มะพร้าวในหลายรูปแบบไม่ว่า กะทิ น้ำมะพร้าว หรือเนื้อมะพร้าว ทั้งที่มองเห็นและมองไม่เห็น ที่มองไม่เห็นก็มักจะใช้น้ำมะพร้าวหรือกะทิ และที่มองเห็นก็มักจะเป็นมะพร้าวที่ใช้โรยหน้าหรือทำไส้ขนมซึ่งนิยมใช้ ‘มะพร้าวทึนทึก’

กินข้าวอย่างไรไม่ให้อ้วน ตอนที่ 3

ผ่านไปสองตอนก่อนหน้ากับซีรี่ย์กินข้าวอย่างไรไม่ให้อ้วน เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาเราได้อ่านบทความของ CNN Travel ยกให้ร้านอาหารข้างทาง (Street Food) เป็นอันดับ 8 ของวัฒนธรรมอาหารที่ดีที่สุด [1] ถามว่าทำไม? CNN travel ให้เหตุผลว่า อาหารไทยในหนึ่งจานน่าดึงดูด เพราะมีสมุนไทยและเครื่องเทศหลากหลาย มีรสชาติที่ซับซ้อน เปรียบเหมือนกำลังฟังเพลงออเคสตรา ในหนึ่งจานมีรสเผ็ด

กินข้าวอย่างไร ไม่ให้อ้วน ตอนที่ 2

จากบทความตอนที่ 1 เล่าถึงวิธีการกินข้าวและเลือกข้าวที่ช่วยเรากินข้าวแล้วไม่อ้วน ตอนนี้เราจะขอเล่าเทคนิคอย่างง่าย ๆ แถมมีงานวิจัยรองรับ มาเล่าสู่กันฟัง วิธีแรก ลดขนาดจานและชาม ศาสตาจารย์ Brian Wansink แห่ง Cornell University ได้ออกแบบการทดลองด้านพฤติกรรมการรับประทานขึ้นมา 4 การทดลอง เพื่อที่จะยืนยันว่า ภาชนะหรือบรรจุภัณฑ์ขนาดใหญ่กระตุ้นให้เรา

กินข้าวอย่างไร ไม่ให้อ้วน

ด้วยสรีระ ผู้หญิงมีโอกาสที่จะอ้วนมากกว่าผู้ชาย ยิ่งหลังคลอดบุตรแล้วยิ่งควบคุมน้ำหนักยาก นำมาซึ่งความเสี่ยงต่อภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน และเบาหวาน  ผู้หญิงเราเสียเปรียบในเรื่องระบบการเผาผลาญ บางคนถึงขนาดเปรยว่า ‘แค่หายใจก็อ้วนแล้ว’ กินนิดกินหน่อยน้ำหนักขึ้น  โดยเฉพาะแป้ง เป็นอาหารที่สาว ๆ หลายคนไม่ถวิลหา โยงใยมาถึง ‘ข้าว’ เราเป็นคนหนึ่งที่ชอบทานข้าว แต่เราชอบข้าวไรซ์เบอร์รี่ผสมข้าวหอมมะลิ เราติดนิสัยชอบกินข้าวสีมาจากแม่ ซึ่งเดิมทีก็กินข้าวขาวหอมมะลินี่แหละ แต่ป้าเราแนะนำแม่ว่า

กินข้าวกินปลา

กินข้าวกินปลา กับข้าวกับปลา ข้าวใหม่ปลามัน ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว ‘ข้าว’ และ ‘ปลา’ ดูจะเป็นสองสิ่งที่อยู่กันมากับวิถีชีวิตของคนไทย  จำได้ว่าตอนเด็ก ๆ เวลามีแขกเยี่ยมเยือน แม่มักจะถามว่า ‘กินข้าว กินปลา’ มารึยัง หลัง ๆ จะลดเหลือแค่ ‘กินข้าว’ 

เมื่อพิซซ่ากลายเป็นอาหารเช้า

วิถียุคใหม่ มื้อเช้าของหลายคนเริ่มต้นด้วย ‘ซีเรียล’ ใส่นม 1 ชาม
แต่ปัจจุบันชาวอเมริกันบางส่วน เริ่มต้นมื้อเช้าด้วย ‘พิซซ่า’ ใช่ค่ะ พิซซ่า เพื่อน ๆ อ่านไม่ผิด พิซซ่า ได้กลายเป็นหนึ่งในเมนูมื้อเช้าไปเรียบร้อย
คนอเมริกันกินพิซซ่าแทบเรียกได้ว่าเป็นอาหารหลัก เวลาเราดูซีรี่ย์จากโซนนี้เรามักจะเห็นพิซซ่าเป็นส่วนหนึ่งของฉาก

มะพร้าวน้ำหอม ของดีที่มี GI

มะพร้าวน้ำหอมเป็นที่ชื่นชอบของใครหลายคน เราเองก็กินมาตั้งแต่เด็ก โดยไม่ต้องซื้อหา เพราะมีอยู่กับบ้าน  ทุกครั้งที่กลับบ้าน เตี่ยจะตัดมะพร้าวน้ำหอมมาให้หนึ่งทะลาย แล้วเราก็จะพุ่งไปหยิบมีดอีโต้ทันทีที่มะพร้าวมาถึง ปาดมะพร้าวสองสามที เฉาะกะลาสีเหลืองอ่อนนวลๆ ยกกระดกตรงนั้น โดยไม่ต้องใช้หลอด ขอบอกว่าฟินสุดๆ ยิ่งตัดมาตอนเช้า น้ำมะพร้าวจะเย็นซ่านิดๆ หอมชื่นใจ หากตัดมาตอนบ่าย น้ำมะพร้าวจะอุ่นหน่อย ซ่ามากกว่าตอนเช้า แม้จะไม่ฟินเท่าตอนเช้า แต่ก็ฟินเช่นกัน

ใครกินเค็ม ยกมือขึ้น!!!

อยู่ดีดี ไข่เค็มที่เราคุ้นเคยจักมาตั้งแต่เด็กกลายมาเป็น #กระแสไข่เค็ม มาแบบงง ๆ จนหลายคนถามว่ามายังไง มันเกิดจากขนมขบเคี้ยวรสไข่เค็มยี่ห้อหนึ่งที่นำเข้ามาจากสิงคธปร์ แล้วเป็นที่ติดอกติดใจ จนมีผลิตภัณฑ์รสไข่เค็มออกมาเต็มตลาดภายในเวลาไม่กี่เดือน ด้วยเหตุที่ต้องใช้ไข่เค็มและใช้เฉพาะไข่แดงเสียด้วย ซึ่งจะให้อร่อยต้องใช้ไข่เค็มจากไข่เป็ด ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงกว่าการปรุงรสอื่นๆ ทำให้ราคาขนมขอบเคี้ยวรสไข่เค็มจะมีราคาแพงกว่ารสอื่น หากใช้ไข่แดงของไข่เค็มจริงๆ ก็ยอมรับได้ เพราะไข่เค็มอร่อยต้องใช้ไข่เป็ด ซึ่งราคาจะแพงกว่าไข่ไก่ ปัจจุบันขายกันฟองละ 4-5 บาท