อาหารพื้นถิ่นแห่งเซิงหวาย

ไก่ดำลือเลื่อง ครบเครื่องทั้งคาวหวาน อิ่มสำราญบ้านเซิงหวาย เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เราได้มีโอกาสพานิสิตสาขาวิชาธุรกิจการเกษตร ชั้นปีที่ 4 ไปดูงานโครงการ OTOP นวัตวิถี ที่มีแนวคิดจากการผนวกโครงการ OTOP มารวมกับการท่องเที่ยวเพื่อเรียนรู้วิถีชีวิตชุมชน ชุมชนเป้าหมายของเราในครั้งนี้คือ ชุมชนบ้านเซิงหวาย ต.ตลุกเทียม อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก ความหมายมั่นของเราทุกครั้งที่ได้ลงพื้นที่คือ การได้ลิ้มรสอาหารพื้นบ้านที่เรียบง่ายแต่เต็มเปี่ยมไปด้วยสเน่ห์

เรื่องเล่าประสบการณ์ในการทำ Fasting

สวัสดีแฟนเพจ EatEcon บทความนี้หนึ่งในทีมแอดมินของเพจ EatEcon จะเล่าประสบการณ์การทำ 16/8 Fasting มาให้เพื่อนๆได้อ่านกัน ก่อนอื่นต้องขอเล่าที่มาที่ไปกันก่อนว่าทำไมทุกวันนี้มีหลายคนหันมาสนใจทำ Fasting สืบเนื่องมาจากในช่วงสองปีที่ผ่านมาแอดมินประสบกับภาวะน้ำหนักขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสาเหตุหลัก ๆ นั้นเกิดจากวิถีการใช้ชีวิตส่วนตัวของแอดมินเอง นั่นคือ การกิน และไม่สามารถห้ามใจการกินของตัวเองได้ ซึ่งก่อนหน้านี้ แอดมินนั้นออกกำลังกายโดยการวิ่งอย่างสม่ำเสมอ เฉลี่ยสัปดาห์ละประมาณ

ข้าวพื้นเมืองคืนทุ่ง: ข้าวหอมนครชัยศรี

เมื่อข้าวพื้นเมืองหายไปจากท้องทุ่ง ของดีที่เคยมีถูกลืมเลือน ข้าวหอมนครชัยศรี เป็นหนึ่งในของดีแห่งทุ่งนครชัยศรีที่หายไปเมื่อ 40ปีก่อน อันเป็นผลพวงของการปรับปรุงพันธุ์ข้าวไม่ไวแสงจนเกิดเหตุการที่เรียกว่า‘ตกเขียว’ จนเมื่อสามปีก่อนกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านโฉนดชุมชนคลองโยง-ลานตากฟ้า ได้เชิญชวนสมาชิกกว่า 20 ชีวิต ร่วมกันอนุรักษ์ข้าวพันธุ์พื้นเมืองเหล่านี้เอาไว้ เพื่อให้ของดีแห่งทุ่งนครชัยศรียังคงอยู่ “ส้มโอหวาน ข้าวสารขาวลูกสาวสวย…” ส่วนหนึ่งของคำขวัญประจำจังหวัดนครปฐม ที่มีมาอย่างยาวนาน… อ่ะ ๆ ขึ้นต้นมาแบบนี้ อย่าเพิ่งคิดว่าเราจะมาพาทัวร์บ้านเกิดเชียวนะ แต่ก็คงไม่ผิด ถ้าสาวงามแห่งนครปฐมอย่างเรา จะภูมิใจในภูมิลำเนาแผ่นดินเกิด…และเรื่องราวที่เราจะนำมาเล่าสู่กันอ่านในสัปดาห์นี้

สะเดามีอะไรดี ขมก็ขม ทำไมหลายคนถึงติดใจ

สะเดามีอะไรดี ขมก็ขม ทำไมหลายคนถึงติดใจ สำหรับบ้านเรา เมนูสะเดาน้ำปลาหวาน ปลาย่าง นับเป็นหนึ่งในของโปรดประจำครอบครัวเรา และโปรดมากจนต้องหาต้นสะเดามาปลูกไว้หลังบ้าน แม่เราปลูกสะเดามันหรือสะเดาทวายไว้สองต้น จำได้ว่าซื้อมาจากงานเกษตรแห่งชาติที่ ม.เกษตร กำแพงแสน สองต้นนี้มากพอที่จะได้ทั้งเก็บกิน เก็บแจก และเก็บขายเป็นกำๆ กำละ 10 บาท (หนักประมาณ 1.5

ว่าด้วยเรื่องของไข่ ตอนที่ 3

ตอนนี้ขอเล่าเรื่องไข่เป็ด ของเด็ดที่กำลังหายไป ทุกวันนี้หันไปทางไหนเราเจอแต่ไข่ไก่ จึงเกิดคำถามว่า แล้วไข่เป็ดไปไหนหมด ปกติบ้านเราจะชอบทานไข่เป็ด เพราะเลี้ยงกันเองในบรรดาญาติ โดยเฉพาะก๋งเรา ชอบเลี้ยงเป็ดมาก เลี้ยงมาตั้งแต่หนุ่มๆ แม้ช่วงท้ายของชีวิตก็ยังเลี้ยง แต่เลี้ยงไม่มาก ประมาณ 20-30 ตัว ก๋งบอกว่า นั่งมองเป็ดเพลินดี ก๋งเลี้ยงเป็ดแบบปล่อยให้หากินเองตามชายคลอง ให้อาหารหยาบเพิ่มในช่วงเย็น ไข่เป็ดของก๋งจึงอร่อย

สิ่งที่เป็นอยู่ก็ดีอยู่แล้ว กับดักสำคัญที่ฉุดรั้งการเปลี่ยนแปลง

สวัสดีปีใหม่ค่ะเพื่อนๆ และคุณผู้อ่านทุกท่าน ผ่านพ้นช่วงเวลาแห่งการเฉลิมฉลองกันมาแล้ว แต่ละคนเป็นอย่างไรกันบ้าง ได้มีโอกาสเริ่มต้นสิ่งใหม่ๆ หรือเปิดโอกาสตัวเองให้สิ่งดีๆ ได้ก้าวเข้ามาในชีวิตเพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีกว่าชีวิตเดิมๆ เมื่อปีที่ผ่านมากันบ้างรึยัง  ก่อนสิ้นปี EatEcon ได้นำเสนอเรื่องราวของการพาชีวิตหลุดพ้นจากกับดัก “ต้นทุนจม” เพื่อเป็นแนวคิดในการเตรียมวางแผนรับปีใหม่ที่จะมาถึง…เช่นเดิมค่ะ เพื่อความต่อเนื่องและเปิดปฐมฤกษ์ของปีใหม่ทั้งที EatEcon ก็ไม่พลาดที่จะมานำเสนอบทความดีๆ เสิร์ฟให้ผู้อ่าน หลายคนคงเคยได้ยินหรือได้อ่านเรื่องราวเกี่ยวกับ Status Quo Bias กันมาบ้าง หรือใครที่ไม่แน่ใจว่ามันคืออะไร บทความแรกของปี 2562 นี้ EatEcon จะขันอาสาพาทุกคนไปทำความรู้จักกับนิยามคำนี้

ต้นทุนจม… กับดักและเหตุผลวิบัติที่เราต้องเท่าทัน

เราจ่ายไปเยอะแล้ว… เราลงทุนไปเยอะแล้ว… เราเดินมาไกลมากแล้ว… เราทำมาตั้งนาน กว่าจะมาถึงวันนี้ แล้วเราก็มาจบที่ …รู้งี้… คำพูดเหล่านี้เกิดขึ้นกับเราเสมอ เมื่อเราให้ค่ากับ “ต้นทุนจม” มากเกินไป คุณอ่านไม่ผิดหรอกค่ะ “ต้นทุนจม” อย่างแท้จริง ต้นทุนตัวนี้สำคัญมากนะ ไม่เฉพาะสำหรับนักลงทุน หรือนักธุรกิจ แต่มันมีอยู่จริงในชีวิตเราทุกคน ซึ่งแต่ละคนจะทุกข์ร้อนกับมันมากแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับการให้ค่าความสำคัญ แต่ผู้คนส่วนหนึ่งก็เจ็บหนัก

ฤาว่าเราควรอดอาหาร

วารสาร Science ฉบับที่ 362 มีบทความเรื่อง Time to Fast เขียนโดย Di Francesco และเพื่อน ซึ่งมีหลายประเด็นที่น่าสนใจมากเกี่ยวกับ Fasting คำถามแรก Fasting คืออะไร Fast ในที่นี้ไม่ได้แปลว่าเร็ว แต่ Fast ในที่นี้แปลว่า อดอาหาร บทความเรื่องนี้กล่าวถึงการอดอาหาร 4 แนวทาง คือ

อาหารที่ถูกทิ้ง

ปัญหาอาหารถูกทิ้งหรือ Food waste เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่เป็นผลพวงของความไม่เท่าเทียมกันของการเข้าถึงอาหาร มาตรฐานเพื่อการบริโภค และการกินตามใจปากแบบไม่ประมาณตัวเอง อาหารที่ผลิตได้บนโลกนี้ถูกทิ้งเปล่าๆโดยไม่ได้ประโยชน์ถึง 1 ใน 3 ขณะที่ประชากรบางส่วนบนโลกอดอยาก ถามว่าอาหารที่ถูกทิ้งเหล่านี้คิดน้ำหนักเท่าไร… คำตอบคือ 1.3 พันล้านตัน/ปี ใช่อ่านไม่ผิด 1.3 พันล้านตัน/ปี คิดดูนะ ทิ้งแล้วยังต้องมาจัดการกับขยะเหล่านี้อีก

“กิน” การให้ความสุขที่ต้องคิด

“ไปกินของอร่อยๆกัน” มักจะเป็นวลีที่ถูกเปร่งออกมาโดยอัตโนมัติ เมื่อเราหรือคนสำคัญของเราทำอะไรสำเร็จดังเป้าที่ตั้งไว้ การกินถือเป็นการให้รางวัลตัวเองที่ง่ายและเร็วที่สุดทางหนึ่ง และเรามักจะกินเยอะมากกว่าซะด้วยเมื่อเรามีความสุขและการเฉลิมฉลอง หากใครที่กำลังควบคุมน้ำหนัก ก็จะมีเหตุผลสำหรับการฉลองนี้ว่า “มื้อเดียวเอง พรุ่งนี้ค่อยลด” ซึ่งไม่ต่างอะไรกับการเปรียบเปรยที่ว่า “วันที่ออกกำลังกายมากที่สุดคือ วันพรุ่งนี้” คนจำนวนไม่น้อยให้ความสุขกับปัจจุบันมากกว่าความมีสุขภาพดีในอนาคต ซึ่งต้องใช้เวลานานกว่าจะเห็นผล จงไม่แปลกที่จำนวนของคนที่มีภาวะน้ำหนักเกินและภาวะโรคอ้วนมีมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงจำนวนผู้ป่วยที่อยู่ในกลุ่มโรค NCDs มากขึ้นเช่นกัน นักเศรษฐศาสตร์อธิบายเหตุการณ์ที่เราให้ความสำคัญกับการกินมากกว่าสุขภาพในอนาคตนี้ผ่านแนวคิดของTime preferences