กระเทียม พืชหลังนาที่แสนหอม

เมื่อบอกแม่ว่าจะไปศรีสะเกษ “ซื้อกระเทียมกลับมาด้วยนะ” นี่คือสิ่งแรกที่แม่นึกถึง แม่บอกว่าแม่ชอบกระเทียมของศรีสะเกษเพราะหอมกว่า ทำกับข้าวไทยอร่อยกว่า ปกติเวลาแม่ซื้อกระเทียมก็จะเลือกที่แก่จัด แล้วนำมาแขวไว้ที่ขื่อบ้าน ให้อากาศถ่ายเท ช่วยยืดอายุการเก็บรักษาได้ค่อนข้างนาน แม่เชื่อว่าคนที่ทำกับข้าวเองเค้าก็ใช้กระเทียมไทยกันอยู่นะ แม้ว่ากระเทียมไทยจะกลีบเล็กและมีราคาแพงกว่า (ราคากระเทียมไทยที่ขายตามตลาดนัดแถวบ้านเรา จะแพงกว่ากระเทียมจีนประมาณ 20-30 บาท/ก.ก. ก็นับว่าแพงเอาการอยู่) แต่กระเทียมใช้น้อย สามสี่กลีบต่อเมนู แบ่งซื้อมา 10-20

เรื่องเล่า ข้าวไรซ์เบอร์รี่

บทความนี้เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับข้าวไรซ์เบอร์รี่ สายพันธ์ุข้าวที่โดดเด่น และได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคอย่างรวดเร็ว เราจะมาเล่าที่มาที่ไปของข้าวสายพันธ์ุนี้ก่อนละกัน ข้าวไรซ์เบอร์รี่ มีจุดเริ่มต้นเมื่อปี 2545 ทีมวิจัยของ ศ.ดร.อภิชาติ วรรณวิจิตร ศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เล็งเห็นถึงปัญหาของข้าวไทยและความต้องการของผู้บริโภคข้าวไทยในอนาคตที่เน้นกลุ่มข้าวที่เป็นมิตรต่อสุขภาพ ทีมวิจัยได้เลือกพันธุ์ข้าวเจ้าหอมนิลเป็นพ่อ และข้าวขาวดอกมะลิ 105 เป็นแม่ ซึ่งสองสายพันธ์ุนี้มีลักษณะเฉพาะที่แตกต่าง ข้าวเจ้าหอมนิลอุดมไปด้วยสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ให้สีเข้ม แต่ข้อเสียคือ

อาหารที่ถูกทิ้ง

ปัญหาอาหารถูกทิ้งหรือ Food waste เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่เป็นผลพวงของความไม่เท่าเทียมกันของการเข้าถึงอาหาร มาตรฐานเพื่อการบริโภค และการกินตามใจปากแบบไม่ประมาณตัวเอง อาหารที่ผลิตได้บนโลกนี้ถูกทิ้งเปล่าๆโดยไม่ได้ประโยชน์ถึง 1 ใน 3 ขณะที่ประชากรบางส่วนบนโลกอดอยาก ถามว่าอาหารที่ถูกทิ้งเหล่านี้คิดน้ำหนักเท่าไร… คำตอบคือ 1.3 พันล้านตัน/ปี ใช่อ่านไม่ผิด 1.3 พันล้านตัน/ปี คิดดูนะ ทิ้งแล้วยังต้องมาจัดการกับขยะเหล่านี้อีก

แม้เศรษฐกิจไม่ดี แต่ก็มีอะไรดีดีเกิดขึ้น

เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา พาดหัวข่าวของประชาชาติ เรื่อง “สิงห์-ช้าง วืดเป้า เบียร์แสนล้านซึม กำลังซื้อทรุดนัก” เมื่ออ่านข่าวนี้ หัวใจเราพองโต ดีใจสุดๆ โฆษณาของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) กับสโลแกนที่ว่า “จน เครียด กินเหล่า” และการรณรงค์อื่นๆ ที่ทำมาอย่างต่อเนื่อง

ว่าด้วยเรื่องของไข่ ตอนที่ 2

หลังจากประเดิมลงบทความปฐมบท เรื่อง “ว่าด้วยเรื่องของไข่”ไปเมื่อ 30 ตุลาคม ที่ผ่านมา ทำให้ตัวเราเองเปลี่ยนมาซื้อไข่เบอร์เล็กแทนไข่เบอร์ใหญ่ และอาจทำให้ใครหลายคนที่ได้อ่านแอบเปลี่ยนความคิดเช่นกัน แต่ก็มีความสงสัยตามมาในหัวว่า จะเบอร์เล็ก เบอร์ใหญ่ เบอร์ไหนก็ช่าง…แล้วเราควรกินวันละกี่ฟอง จึงเรียกว่าพอเหมาะพอดี บทความภาคต่อ ที่เราทำการบ้านมานี้มีคำตอบ  แต่แหม…จะเขียนทั้งที ก็ต้องได้อะไรมากกว่าแค่คำตอบว่ากินได้กี่ฟอง เราได้มีโอกาสคุยถึงเรื่องไข่กับหลายคน ทุกคนยอมรับว่า ไข่

เมื่อรัฐจะเก็บ “ภาษีของเค็มและไขมันทรานส์”

เมื่อไม่นานมานี้หลายคนคงตื่นเต้นกับเรื่องไม่ใหม่แต่ไม่ค่อยคุ้นหูที่จู่ ๆ ภาครัฐนำโดยกระทรวงสาธารณสุขประกาศเตรียมห้ามผลิต นำเข้า และจำหน่ายกรดไขมันทรานส์ หรือที่รู้จักในชื่อ ทรานส์แฟท (Trans Fat) ในประเทศไทย โดยชี้ชัดว่าเจ้าไขมันทรานส์เป็นภัยต่อสุขภาพ เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด จากการที่เราบริโภคอาหารและขนม เช่น เค้ก ขนมปัง หรือ โดนัท ที่ใช้เนยขาว เนยเทียม

อาหารตามสั่งที่เซเว่น ทางเลือกที่เป็นประเด็น

ร้าน7-ELEVEN ALL meal ในซอยประชาสงเคราะห์23 เป็นสาขานำร่องที่เปิดให้บริการอาหารตามสั่งที่ทำกันสดๆบางรายการก็ใช้เครื่องนึ่งรวมถึงกาแฟสดและเบเกอรี่  มีหลายฝ่ายออกมาวิพากย์วิจารณ์ถึงความไม่เหมาะสมของเซเว่นอีกครั้ง ทำไมเซเว่นถึงเลือกเดินเกมนี้ เราขอออกตัวก่อนเลยว่าเราไม่ใช่ลูกค้าประจำเซเว่นแต่เรามักใช้บริการเซเว่นเมื่อเราไปในที่ที่ไม่คุ้นเคย หรือไปเป็นครั้งแรก ไม่รู้ว่าจะไปหาอะไรกินตรงไหน เพื่อนที่รู้จักแถวนั้นก็ไม่มี เซเว่นจึงเป็นทางเลือกที่เซฟสุดสำหรับเรา นั่นเป็นเพราะเซเว่นเป็น“ทางเลือก” รู้มั้ยเพราะอะไร   ก็เพราะเราไม่อยากเสี่ยงไปกับร้านอาหารที่เราไม่รู้ว่ารสชาติอร่อยรึเปล่าแต่ถ้าร้านใกล้แถวนั้นเราเห็นแววว่าน่าจะอร่อยสังเกตจากมีคนต่อคิวนั่งกินในร้านเยอะหรือมีรถจอดหน้าร้านเยอะมั้ยถ้ามีหนึ่งในนี้ เซเว่นไม่ได้เงินจากเราแน่นอน  การตัดสินใจแบบนี้เป็นผลจากการที่เรากลัวการสูญเสีย (Loss aversion) ซึ่งมีอยู่ในตัวเราอยู่เป็นปกติทำให้เราไม่กล้าที่จะเสี่ยงกลัวจ่ายเงินแล้วไม่อร่อย แต่อย่างน้อย เราก็รู้ว่ารสชาติของอาหารที่ขายในเซเว่นเป็นอย่างไร การเดินหมากเชิงรุกในเกมการตลาดของเซเว่นตานี้ ก็เข้ามาตอบโจทย์คนอย่างเรานี่แหละคือ เพิ่มทางเลือกให้กับเรา  หลายๆ คนวิตกกังวลว่าพ่อค้าแม่ค้ารายย่อยจะได้รับผลกระทบจากหมากเกมนี้ของเซเว่น

เสน่ห์ของการกินก๋วยเตี๋ยวแบบไม่ปรุง

ก๋วยเตี๋ยวเป็นอาหารที่อยู่คู่กับคนไทยมานาน คาดว่าจะเข้ามาตั้งแต่สมัยอยุธยา ซึ่งเป็นที่นิยมในกลุ่มชาวจีน หากแต่ก๋วยเตี๋ยวได้เป็นที่รู้จักและนิยมสำหรับคนไทยในวงกว้างอันเนื่องมาจากเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่ปี 2485 ซึ่งตรงกับสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม  ผลของน้ำท่วมกรุงเทพตอนนั้น ทำให้เหล่าท่านผู้นำและคณะต้องไปประชุม ครม. ทางเรือ แล้วมีการทำก๋วยเตี๋ยวเลี้ยงที่ทำเนียบ คาดว่าจะเป็นที่ชื่นชอบของท่านผู้นำ เพราะมีรัฐนิยมฉบับหนึ่ง รณรงค์ให้คงไทยกินก๋วยเตี๋ยว เปิดคอร์สสอนทำก๋วยเตี๋ยวด้วย แถมท่านผู้นำยังแจกรถเข็นให้ไปทำก๋วยเตี๋ยวขายอีก ที่เด็ดคือ กรมประชาสัมพันธ์ได้แต่งเพลงเชียร์ให้คนกินก๋วยเตี๋ยวกันเลยจ้า

กินก่อนหรือหลัง เรื่องเล็กๆจากก๋วยเตี๋ยว ที่บ่งบอกตัวเรา

เวลาเราหิวมากๆ อาหารคำแรกที่เรากิน จะมีรสชาติดีที่สุด ด้วยเหตุนี้ “ความหิวจึงเป็นซอสปรุงรสที่ดีที่สุดในโลก” คำถัดมาจะอร่อยน้อยลง และจะน้อยลงเรื่อยๆ พร้อมไปกับการที่ความหิวจะค่อยๆ คลายลง คำสุดท้ายที่เรากินจะมอบฟินที่น้อยที่สุดเมื่อเทียบกับคำแรก ขณะเดียวกันความอิ่มก็จะค่อยๆ เพิ่มขึ้นจนถึงจุดที่เราอิ่มเปรียบเหมือนฟินจะสะสมเพิ่มขึ้นจนถึงจุดที่สูงที่สุด จากคำถามข้างต้น เราขอยกตัวอย่างลูกชิ้นเป็นของโปรดของคุณ คุณเป็นคนกลุ่มไหน ชอบกินลูกชิ้นก่อน หรือเก็บของโปรดไว้กินท้ายสุด หากคุณกินลูกชิ้นก่อนเป็นอันดับแรก คุณเป็นกลุ่มคนที่ชอบให้ความสุขกับตัวเอง โดยมีความหิวและรสชาติจะช่วยเติมเต็ม

น้ำตาลคือจำเลย

ปัจจุบันมีความพยายามที่จะทำให้คนไทยเลิกกินน้ำตาล ซึ่งจะไม่ยุติธรรมกับ “น้ำตาล” และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับน้ำตาลเท่าไร เราเองก็มีส่วนได้รับประโยชน์จากน้ำตาล ครอบครัวของเรามีไร่อ้อย อยู่ในจังหวัดกาญจบุรี ขายอ้อยให้กับโรงงานน้ำตาล ช่วงฤดูฝนของทุกปีจะต้องมาลุ้นว่าปีนี้ฝนจะเยอะมั้ย ถ้าไม่เยอะก็ต้องสูบน้ำเข้าไร่อ้อย เสียค่าน้ำมันไม่ใช่น้อยต่อการสูบแต่ละครั้ง ต้องใส่ปุ๋ยบำรุงดิน เพื่อให้ได้น้ำหนัก ได้ค่าความหวาน และสุดท้ายก็จะต้องลุ้นว่าราคาอ้อยจะเป็นอย่างไร ราคาอ้อยปีนี้ประมาณตันละ 680 บาท ซึ่งกระทบต่อเกษตรกรผู้ปลูกอ้อยทั้งหลาย ครม.