กรมปศุสัตว์: ผู้ชี้ชะตาชาวหมูรายย่อยไทย

เรื่องโดย ผศ.ดร.สุวรรณา สายรวมญาติ ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นับแต่วันที่มีการประกาศการระบาดของโรคแอฟริกันอหิวาต์ในสุกรเมื่อเดือนมกราคม 2565 ล่วงเลยมาจนถึงตอนนี้ก็ 11 เดือนแล้ว สถานการณ์หมูไทยเป็นอย่างไรบ้าง ราคาหมูจะลดลงหรือยัง เกษตรกรรายย่อยจะกลับมาได้หรือไม่ กลับมาได้อย่างไร เหล่านี้ล้วนเป็นคำถามที่ผู้เขียนถูกถามเสมอเรื่อยมา ในมุมมองของผู้เขียนเองคาดว่า… สถานการณ์การผลิตหมูของไทยในปี 2566 จะดีขึ้น

แนวทางฟื้นฟูผู้เลี้ยงสุกรหลังวิกฤต ASF

หลังจากโรค ASF ในสุกร เข้ามาสร้างความเสียหายให้กับธุรกิจและอุตสาหกรรมการผลิตสุกรของไทยอย่างรุนแรง โดยเฉพาะผู้เลี้ยงรายย่อย รายเล็ก และรายกลาง หลายแห่งตัดสินใจปิดฟาร์ม ส่งผลให้ทำให้ปริมาณสุกรขุนออกสู่ตลาดลดลงสวนทางกับปริมาณความต้องการบริโภคที่มีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นจากการผ่อนคลายมาตรการรัฐอันเนื่องมาจากสถานการณ์โควิด-19 จนเกิดภาวะราคาหน้าฟาร์มสูงกว่า 100 บาท/กิโลกรัมตั้งแต่ต้นปี 2565 ถึงปัจจุบัน (สิงหาคม 2565) เพื่อให้ผู้เลี้ยง ผู้ค้า และผู้ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจในอุตสาหกรรมการผลิตสุกรของไทยผ่านวิกฤตและอยู่รอดได้ต่อไป ทุกภาคส่วนควร

ปุ๋ยแพง เรื่องร้อนแรงที่ไม่มีใครสนใจ

เมื่อสองเดือนก่อนได้เขียนเตือนสถานการณ์ภาวะเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นทั่วโลกจากต้นทุนการผลิตเพิ่ม หรือ Cost push จากปัญหาพลังงานการผลิตในอุตสาหกรรมถ่านหินและก๊าซธรรมชาติ จนส่งผลให้ราคาสินค้าและบริการเพิ่มขึ้นตามต้นทุนที่เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะอาหารที่ต้นทุนการผลิตที่สำคัญคือ ปุ๋ย (เคมี) ซึ่งประเทศผู้ส่งออกปุ๋ย DAP เช่น จีน รัสเซีย ก็จำกัดปริมาณการส่งออกเพื่อปกป้องภาคเกษตรของประเทศ จนส่งผลให้ราคาปุ๋ยโลกพุ่งขึ้นประมาณ 200% ในปีที่ผ่านมา กล่าวได้ว่า ปุ๋ยแพงไม่จบง่าย ๆ

แรงจูงใจคนเลี้ยงหมูให้หวนคืนอาชีพ

เรื่องโดย สุวรรณา สายรวมญาติ ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์   2-3 ปีนี้นับว่าเป็นช่วงปีย่ำแย่ที่สุดของคนเลี้ยงหมู เพราะต้องเผชิญกับโรคระบาดในหมูและตามด้วยโรคระบาดโควิด-19 ในคน ตามด้วยราคาต้นทุนวัตถุดิบอาหารสัตว์พุ่งสูงลิ่ว แถมเคราะห์ซ้ำกรรมซัดจากอุทกภัยทำน้ำท่วมไปหลายพื้นที่ แต่เมื่อถึงเวลาขาย กลับขายไม่ได้ราคาตามที่ประกาศ จนเกิดวลี “ราคาทิพย์” ให้ช้ำใจ คนเลี้ยงหมูบอบช้ำกันขนาดอย่างหนัก น้อยรายนักที่ยืนหยัดฝ่าคลื่นลมมาได้

ทางแยกของการตัดสินใจ

โดย สุวรรณา สายรวมญาติ ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์   ข่าวฟาร์มหมูรายกลางและรายย่อยโซนภาคกลางแถว ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง สระบุรี นครนายก หรือสุโขทัย แทขายหมูยกฟาร์มหลักจากเกิดการระบาดของโรคโดยไม่มีการรายงานว่าเป็นเชื้อชนิดใด ซึ่งผู้เขียนคาดว่าจะเป็นกลุ่มเชื้อไวรัสเนื่องจากระบาดเร็วและรุนแรง ดังเช่นการระบาดของเชื้อไวรัสอหิวาต์แฟริกาที่ทำลายจำนวนสุกรไปหลายล้านตัวในหลายประเทศไม่ว่าจะเป็นจีน เวียดนาม หรือกัมพูชา อย่างไรก็ดีปัจจุบันยังไม่มีการระบาดของเชื้อไวรัสตัวนี้จากกรมปศุสัตว์ไทย

ฤาจะเข้ายุคข้าวยากหมากแพง

จากข้อมูลราคาปุ๋ยฟอสเฟตและยูเรียที่เพิ่มขึ้นมาต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2563 คาดว่าจะอยู่ในระดับสูงในช่วงที่เหลือของปี 2564 และยิงยาวไปถึงปีหน้า 2565 เป็นหนึ่งปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ต้นทุนการผลิตพืชอาหารทั่วโลกเพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้ยังมีสภาพอากาศที่แปรปรวน สถานการณ์น้ำท่วมในหลายประเทศ ล้วนเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่า แนวโน้มราคาอาหารจะเพิ่มสูงขึ้น อัตราเงินเฟ้อของอาหารทั่วโลกจะกลายเป็นหนามทิ่มแทงรัฐบาลทุกประเทศ ภาพที่ 1 ราคาปุ๋ยฟอสเฟต ยูเรีย และโพแทส ช่วงปี 2018 –

ไม้ด่าง : The Power of Surprise

ณ เวลานี้คงไม่มีใครปฏิเสธได้ว่า วงการไม้ประดับ (ไม้ใบ ไม้ด่าง) ได้รับอานิสงส์จากการระบาดของ COVID-19 จนเรียกได้ว่าเป็นช่วงขาขึ้น ผลของการหยุดอยู่บ้านทำให้คนหันมาปลูกต้นไม้เป็นงานอดิเรกให้ตลาดไม้ด่างเติบโตในระดับหนึ่ง และเมื่อมี Influencer ตัวฉกาจอย่างดารานักแสดชั้นนำ เข้ามาสนใจ โพสต์รูปคู่กับต้นไม้ผ่าน Instragram Facebook YouTube จึงดันให้ตลาดไม้ด่างกลายเป็นที่สนใจในวงกว้าง ต้นไม้บางต้นมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเพียงชั่วข้ามคืนเพราะกระแสและความต้องการที่มากจากคนนอกวางการที่พร้อมจะควักตังในกระเป๋าในราคาที่หลายคนตกใจ บางคนเข้ามาซื้อหาด้วยคำว่า

จะเกิดอะไรขึ้น…ถ้าอนุญาตให้นำเข้าเนื้อหมูจากสหรัฐอเมริกา

เรื่องโดย ดร.สุวรรณา สายรวมญาติ ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พาดหัวข่าวในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา …สหรัฐฯ ประกาศตัดสิทธิ์ GSP (Generalized System of Preferences) ของไทยเพิ่มเติมคิดเป็นมูลค่า 25,000 ล้านบาท GSP คือ สิทธิพิเศษทางภาษีที่เราเคยได้ลดหย่อน

สหรัฐอเมริกาตัด GSP : ไทยเจ็บแค่ไหน?

โดย อ.ดร.สุวรรณา สายรวมญาติ ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทัพยากร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ช่วงก่อนการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ประธานาธิบดีทรัมป์ได้อนุมัติให้มีการตัดสิทธิพิเศษทางภาษีสินค้านำเข้าจากไทยเพิ่มเติมจากเดิมเมื่อเดือนมิถุนายน 2563 อีกจำนวน 231 รายการ ในวันที่ 30 ธันวาคม 2563 ด้วยเหตุด้านการเปิดตลาดสินค้าและบริการอย่างสมเหตุสมผลในผลิตภัณฑ์เนื้อหมูของสหรัฐอเมริกาจากการร้องเรียนของ The National Pork

หมูดีมีมาตรฐานกับราคาที่ต้องจ่าย

โดย ดร.สุวรรณา สายรวมญาติ ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ท่ามกลางความวิตกกังวลที่มีต่อการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 อย่างรวดเร็วในระลอกที่ 3 ทำให้ทุกคนต้องเพิ่มมาตรการป้องกันตัวเองแบบตั้งการ์ดให้มั่น ไม่ต่างกับผู้เลี้ยงสุกรที่ต้องตั้งการ์ดระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ (Bio-Security) เพื่อป้องกันการระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร หรือ ASF ที่ตอนนี้สร้างความเสียหายให้หลายฟาร์มอย่างฉับพลัน แม้ว่ากรมปศุสัตว์พยายามสร้างความมั่นใจว่าปัจจุบันประเทศไทยปลอด ASF แต่ผู้ประกอบการฟาร์มหมูหลายรายไม่เชื่อเช่นนั้น