ร้อนนี้ช่างร้อนนัก

ช่วงวันหยุดสงกรานต์ที่ผ่านมา หลายคนคงมีวิธีดับกระหายคลายร้อนกัน ลองมาดูสิว่ามีอะไรกันบ้าง เริ่มที่เครื่องดื่มดับกระหาย  คงปฏิเสธไม่ได้ว่าช่วงหน้าร้อนแบบนี้เป็นช่วงที่ผู้ขายน้ำทั้งหลายรอคอย ยอดขายน้ำอัดลมและเครื่องดื่มเย็น ๆ จะสูงสุดก็ช่วงนี้  และช่วงนี้เราก็เริ่มกลับมาติดหวานเสียด้วย คงต้องเพลา ๆ ลงหน่อย แต่ก็ไม่ได้งดนะ แค่กินให้พอดี ก็จะกินได้ทุกอย่าง ไม่ต้องงด  ข้อดีของน้ำตาลคือ ให้พลังงาน มันทำให้เราสดชื่น และมันช่วยเราคลายเครียดได้

เอ๊ะ!!!…ทำไมหวานจัง?

เวลาเหนื่อย ๆ ได้น้ำอัดลมสักกระป๋องเย็น ๆ ก็ช่วยให้เราสดชื่นได้ไม่น้อย  เห็นเราเป็นคนระมัดระวังเรื่องการกิน แต่เราก็ดื่มน้ำอัดลมนะ แต่ไม่ได้ดื่มกลุ่มน้ำดำ เพราะมีคาเฟอีน แค่แก้วเดียวเล่นนอนไม่หลับไปทั้งคืน เลยเข็ดขยาด เราจึงเลือกดื่มสไปรท์หรือชเวปส์ แต่ตอนดื่มจะเรื่องมากสักหน่อย ต้องหามะนาวมาบีบเพิ่มเพราะมันหวานไปสำหรับเรา  ทีนี้เราก็สังเกตได้ว่าสไปรท์นั้นหวานมาก เวลาบีบมะนาวเพิ่มต้องใช้ประมาณ 1 ลูกกว่า ๆ แต่ชเวปส์บีบแค่ครึ่งลูกก็เปรี้ยวพอ 

ฉลาก…รู้ว่าดี แต่ก็ไม่อ่าน

หลายคนคงขี้เกียจอ่านฉลาก แม้จะรู้ว่าฉลากช่วยบอกอะไรเราบ้าง แต่เราเลือกที่จะมองแต่ฉลากที่นักการตลาดต้องการให้เราอ่าน ซึ่งเราก็เป็น เรื่องฟุ้งๆ ที่อยากเห็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับฉลากในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มบ้านเรา มีอะไรบ้าง ไปอ่านกัน ——————————————————————————————————————– เรามาเริ่มจากการตอบคำถามว่า ฉลากทำหน้าที่อะไร? ซึ่งเราจะขอยกตัวอย่างฉลากน้ำอัดลมละกัน ง่ายดี ชื่อสินค้า ตราหรือโลโก้ ถูกออกแบบให้เตะตา จำง่าย ตัวใหญ่ๆ อยู่ด้านหน้าของบรรจุภัณฑ์ สื่อโปรโมชั่นการตลาด

ข้ออ้างของการตามใจปาก

เมื่อเราอยากกิน เรามักจะหาข้ออ้างมาสนับสนุนการกินของเราได้เสมอ  ‘รู้อยู่แก่ใจว่าไม่ดี แต่มันอดไม่ได้’ ———————————————————————————————————— ทุกคนอยากหุ่นดี ใส่เสื้อผ้าได้ทุกแบบด้วยความมั่นใจ มีสุขภาพแข็งแรง คงไม่มีใครอยากป่วย แต่ความอยากเหล่านี้มันคงเป็นที่ความฝันที่เลือนลาง เมื่อเรายังหาเหตุผลของการกินตามใจปากได้ทุกครั้ง การหาเหตุผลต่าง ๆ นานามาสนับสนุนการกินที่เกินพอดี แบบนี้ในทางเศรษฐศาสตร์พฤติกรรมเรียกว่า ความลำเอียงเพื่อยืนยัน หรือ Confirmation bias  ขอยกตัวอย่างง่าย

ปลาดอร์ลี่ ไม่ได้ดีเหมือนอย่างชื่อที่สวยหรู

และแล้วส่ิงที่กลัวก็เกิดขึ้น ผลงานวิจัยล่าสุดของ ศ.ดร.จงรักษ์ ผลประเสริฐ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ชี้ชัดว่า ปลาดอร์ลี่ ของโปรดของคนไทยเจอสารปนเปื้อนสูงเกินค่ามาตรฐาน ที่สำคัญไม่ว่าจะต้ม ทอด หรือทำให้สุกอย่างไร ก็ไม่สามารถจัดการสารเหล่านี้ต่อไปได้ ปลาดอร์ลี่ รสชาตินุ่ม ไม่มีกลิ่นคาว ปรุงอาหารได้หลากหลาย และเมื่อวางอยู่ในจาน เนื้อขาวสวย ตัดกับผักสีสันสดใส กระตุ้นต่อน้ำลายเราได้ไม่น้อย

น้ำตาลทรายแดง ดีกว่า น้ำตาลทรายขาว จริงหรือ?

น้ำตาลทรายแดงไม่ฟอกสีต้องดีกว่าสิ แต่หารู้ไม่ว่า เราเข้าใจผิด !!! ของแพงต้องดีกว่าของถูก อาจจะใช้ไม่ได้ สองประเด็นด้านบน เพื่อนๆ จะได้คำตอบจากบทความนี้แน่นอน ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักน้ำตาลกันก่อน เราขอจัดน้ำตาลออกเป็น 4 ประเภทใหญ่ๆ คือ 1. น้ำตาลดิบ หรือ Raw sugar  คือน้ำตาลทรายที่ได้จากกระบวนการผลิตขั้นต้น

หมูกะทะ จิ้มจุ่ม ชาบู สุกี้ มีอะไรดี ทำไมเราถึงติดใจ

บางคนหลงรักถึงขนาดไปกินหมูกะทะ จิ้มจุ่ม ชาบู หรือสุกี้ ทุกสัปดาห์ บางคนไปกินมากกว่าสัปดาห์ละหนึ่งครั้ง แม้ว่าจะรู้ว่าการกินอาหารจำพวกปิ้งย่างมากไม่ดี แต่ก็หักห้ามใจไม่ได้ บางครั้งเรายอมจ่ายให้กับอาหารที่ไม่ได้อร่อยเลิศเลอ คุณภาพไม่ได้ดีมาก แต่เราให้ค่าความอร่อยมากกว่าความเป็นจริง เพราะอาหารที่เราปรุงเองมีค่าและอร่อยมากกว่าสิ่งที่คนอื่นปรุง หมูกะทะ จิ้มจุ่ม ชาบู สุกี้ เมนูโปรดที่ต้องกินกันหลายคน หากถามว่า หมูกะทะ จิ้มจุ่ม ชาบู

ได้เวลาบอกลาน้ำหวานไดเอ็ท

ข่าวร้ายสำหรับสาวๆ ที่ดื่มเครื่องดื่มประเภทไดเอ็ททุกวัน คุณได้เพิ่มความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) และโรคหัวใจขาดเลือด (Heart Attacks) ด้วยเหตุนี้ ทางนักวิจัยจึงดูไปถึงวิถีการใช้ชีวิตว่าสาวๆ เหล่านี้กินหรือดื่มอะไรกันบ้าง จนพบปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงให้กับโรคทั้งสองนี้แหละ เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา สำนักข่าว CNN ออกบทความอ้างถึงงานวิจัยของ the American Heart

เราถวายสิ่งที่ดีที่สุด จริงหรือ?

อาหารคาวหวานที่ผ่านการปรุงรสอย่างสุดฝีมือเพื่อถวายพระสงฆ์ ที่เต็มเปี่ยมไปด้วยโซเดียมและน้ำตาล นำมาซึ่ง 5 โรคที่พบมากที่สุดในกลุ่มพระสงฆ์ – โรคไขมันในเลือดสูง โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคไตวาย และโรคข้อเข่าเสื่อม เราในฐานะผู้ถวายควรเลือกอาหารที่คำนึงถึงสุขภาพพระสงฆ์มากกว่ารสชาติอร่อยแต่เพียงอย่างเดียว ที่มาของบทความนี้เกินวันที่เรานำของไปใส่บาตร เราสังเกตเห็นอาหารทั้งคาวหวานที่ถูกตระเตรียมไว้เป็นอย่างดีเพื่อรอประเคนแด่พระสงฆ์ เต็มไปด้วยของน่ากินทั้งนั้น กลืนน้ำลายแทบไม่ทัน เราว่าหลายคนก็อาจจะเป็นหมือนเรา  ย้อนกลับไปในวัยเด็กภาพที่เราเห็นจนชินตาตั้งแต่เด็กคือ ทุกวันพระ ชาวบ้านจำนวนหนึ่งจะหิ้วปิ่นโตมาที่วัด

3+1 สาเหตุที่เสพย์ติดชานมไข่มุก

ทุกวันนี้ไม่ว่าเราจะเดินไปทางไหนก็จะเจอกับชานมไข่มุก (Bubble tea) เครื่องดื่มที่มีต้นกำเนิดจากไต้หวันเมื่อช่วงปี 1980s นับไปก็เกือบ 40 ปีแล้ว จะว่าไปชานมไข่มุกไม่ได้พึ่งเป็นที่นิยมในหมู่ผู้บริโภคชาวไทย ชานมไข่มุกเคยเป็นกระแสอยู่สักพักในอดีต แล้วก็ตกกระแสไป แต่การมาครั้งนี้ กลับมาอย่างมีกลยุทธ์ มีการสนับสนุนอย่างจริงจังจากรัฐบาลไต้หวัน ไม่เพียงที่ไทย ตอนนี้ชานมไข่มุกเป็นที่นิยมมากกว่า 30 ประเทศ ไม่ไว้แม้แต่ประเทศอังกฤษ เพราะมี