กระเทียม พืชหลังนาที่แสนหอม

เมื่อบอกแม่ว่าจะไปศรีสะเกษ “ซื้อกระเทียมกลับมาด้วยนะ” นี่คือสิ่งแรกที่แม่นึกถึง แม่บอกว่าแม่ชอบกระเทียมของศรีสะเกษเพราะหอมกว่า ทำกับข้าวไทยอร่อยกว่า ปกติเวลาแม่ซื้อกระเทียมก็จะเลือกที่แก่จัด แล้วนำมาแขวไว้ที่ขื่อบ้าน ให้อากาศถ่ายเท ช่วยยืดอายุการเก็บรักษาได้ค่อนข้างนาน แม่เชื่อว่าคนที่ทำกับข้าวเองเค้าก็ใช้กระเทียมไทยกันอยู่นะ แม้ว่ากระเทียมไทยจะกลีบเล็กและมีราคาแพงกว่า (ราคากระเทียมไทยที่ขายตามตลาดนัดแถวบ้านเรา จะแพงกว่ากระเทียมจีนประมาณ 20-30 บาท/ก.ก. ก็นับว่าแพงเอาการอยู่) แต่กระเทียมใช้น้อย สามสี่กลีบต่อเมนู แบ่งซื้อมา 10-20

เรื่องเล่า ข้าวไรซ์เบอร์รี่

บทความนี้เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับข้าวไรซ์เบอร์รี่ สายพันธ์ุข้าวที่โดดเด่น และได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคอย่างรวดเร็ว เราจะมาเล่าที่มาที่ไปของข้าวสายพันธ์ุนี้ก่อนละกัน ข้าวไรซ์เบอร์รี่ มีจุดเริ่มต้นเมื่อปี 2545 ทีมวิจัยของ ศ.ดร.อภิชาติ วรรณวิจิตร ศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เล็งเห็นถึงปัญหาของข้าวไทยและความต้องการของผู้บริโภคข้าวไทยในอนาคตที่เน้นกลุ่มข้าวที่เป็นมิตรต่อสุขภาพ ทีมวิจัยได้เลือกพันธุ์ข้าวเจ้าหอมนิลเป็นพ่อ และข้าวขาวดอกมะลิ 105 เป็นแม่ ซึ่งสองสายพันธ์ุนี้มีลักษณะเฉพาะที่แตกต่าง ข้าวเจ้าหอมนิลอุดมไปด้วยสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ให้สีเข้ม แต่ข้อเสียคือ

เมนูโปรดกับร้านประจำที่ชื่นชอบ

การจะหาอะไรกินสักอย่างของนักเศรษฐศาสตร์เกษตรอย่างเราบางทีก็ดูจะเป็นการเรื่องมาก ความคิดในหัวตีกันตลอดเวลาว่าจะกินอะไรดี เมนูที่จะผุดขึ้นมาก็มักจะเป็นเมนูโปรด หรือร้านประจำที่ชื่นชอบ นอกเหนือจากเหตุผลเรื่องความชอบแล้ว ความรู้เกี่ยวกับสินค้าเกษตรที่สั่งสมมาทีละน้อยทีละนิดจากการรับรู้ความอยากลำบากของการผลิตสินค้าเกษตร มีโอกาสสัมผัสกับชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกรตั้งแต่เด็ก เนื่องจากเกิดในครอบครัวเกษตรกร ทำให้การตัดสินใจเลือกอุดหนุนร้านที่เรามั่นใจว่ารับซื้อผลผลิตมาจากเกษตรกรไทยมักจะเป็นเหตุผลหนึ่งเลือกร้านด้วยเช่นกัน เราเป็นคนหนึ่งที่เรียกได้ว่าเป็นสมาชิกคนรักเนื้อ ร้าน Max Beef จึงเป็นหนึ่งในร้านโปรด และมักจะชวนเพื่อนๆไปกินด้วยกัน ความพยายามในการยกระดับการผลิตเนื้อวัวคุณภาพตลอดระยะเวลากว่าทศวรรษ เมื่อเห็นว่าอาชีพเลี้ยงโค กระบือที่หัวไร่ปลายนา จะต้องประสบปัญหาในอีกไม่ช้า อันเนื่องมาจากการค้าเสรี

กว่าเกษตรไทยจะ 4.0

ความพยายามผลักดันไทยแลนด์ 4.0 ของภาครัฐทำให้สังคมไทยตื่นตัว หน่วยงานรัฐทั้งหลายพยายามกำหนดแนวทางการดำเนินงานเพื่อให้เข้าธง4.0 มีการพัฒนาแอพลิเคชันมากมายเพื่อมุ่งหวังให้เกิดข้อมูลขนาดใหญ่ (Big data) สามารถนำมาวิเคราะห์และพยากรณ์ได้ในอนาคต หากแต่การก้าวเข้าสู่ยุคดิจิตอลของสังคมเกษตรนั้นไม่ง่ายอย่างที่คิด เกษตรกรส่วนมากมีอายุมากกว่า 50 ปี การปรับเปลี่ยนระบบเครือข่ายมือถือจาก2G เป็น 3G น่าจะเป็นก้าวแรกที่ทำให้เกษตรกรผู้สูงอายุเปลี่ยนจากการใช้โทรศัพท์แบบเดิมมาเป็นสมาร์ทโฟน หากแต่จะมีสักกี่รายที่จะใช้ฟังก์ชันอื่นนอกเหนือจากการโทรและรับสาย จะมีสักกี่รายที่โหลดแอพลิเคชันของหน่วยงานในกระทรวงเกษตรฯ มาใช้ประโยชน์ เมื่อช่วงพฤษภาคมที่ผ่านมาผู้เขียนได้เข้าร่วมกิจกรรมฝึกงานนิสิตของภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร