จะดีแค่ไหน… ถ้าเครื่องดื่มหวานน้อยถูกกว่าสูตรหวานปกติ?

เมื่อเดินไปโซนเครื่องดื่มที่มีน้ำหวานวางเรียงรายแน่นขนัดในในร้านสะดวกซื้อ หรือซุปเปอร์มาร์เก็ต เพื่อน ๆ สังเกตเห็นอะไร? : สิ่งที่เราเห็นคือ ราคาน้ำอดลมจะถูกตั้งราคาเสมือนอยู่ในตลาดแข่งขันสมบูรณ์ คือ มีราคาเดียว หรือไม่ก็ต่างกันเพียง 1 บาท  เรียกได้ว่าตั้งราคาแบบที่คนซื้อเลือกด้วยความชอบโดยไม่ต้องในใจเรื่องราคา แต่…อย่าลืมเหลียวมองดูปริมาณกันสักนิดว่าแต่ละเจ้าชิงไหวชิงพริบกันอย่างไร เมื่อกวาดตามองราคาทุกรายการที่วางเรียงราย ก็เกิดคำถามขึ้นมาว่า…  ถ้าน้ำอัดลมสูตรไม่ใส่น้ำตาลราคาถูกกว่าสูตรปกติ คนจะหันมาดื่มสูตรไม่มีน้ำตาลเพิ่มขึ้นหรือไม่? แล้ว..ถ้าเป็นเครื่องดื่มแบบอื่นหากลดราคาให้สำหรับคนที่สั่งหวานน้อย จะสามารถจูงใจลูกค้าได้มากแค่ไหน

ฤา…เราเลือกที่จะไม่ฟัง

เรามักจะอยากได้ยินในสิ่งที่เราอยาก และหลีกเลี่ยงการได้ยินในสิ่งที่เราไม่อยากจะได้ยิน การเลือกทั้งสองยินทั้งสองแบบเป็นอคติทางด้านความคิด (Cognitive bias) ที่เราเคยชิน  การเลือกได้ยิน รับรู้ และเชื่อในสิ่งที่เราชอบหรือสนใจ เรียกว่า Confirmation bias ขณะที่การเลือกที่จะไม่ได้ยิน ไม่รับรู้ และไม่เชื่อ ในสิ่งที่เราไม่ชอบหรือไม่สนใจ เรียกว่า Information avoidance การเลือกแบบแรกทำให้เรามั่นใจ

วิธีกำจัดข้ออ้างตามใจปาก

หลังจากได้อ่านหนังสือ “กำจัดข้ออ้างสุดท้ายออกจากชีวิต” หรือ “No excuses” อ่านไปก็นึกถึงตัวเองและคนรอบข้าง และพบว่า…พวกเรานี่ช่างคิดข้ออ้างของการกินได้ไม่สิ้นสุดจริงๆ  เราก็เลยประยุกต์วิธีที่ได้จากหนังสือมาช่วยจัดการข้ออ้างของการกิน เผื่อเพื่อนๆ สนใจจะนำไปใช้ ข้ออ้างที่เรามักได้ยิน คือ กินคาวไม่กินหวานสันดานไพร่เนื่องจากน้ำตาลสมัยก่อนมีราคาแพง อาหารที่ใช้น้ำตาลเป็นเครื่องปรุงจึงมักอยู่ในรั้วในวัง หรือบ้านคนมีอันจะกิน หลังจากกินของคาวเสร็จ ก็มักจะมีของหวานล้างปาก แต่ปัจจุบันนี้น้ำตาลถูกกว่าแต่ก่อนมาก ของหวานมีให้กินกันทั่วไป ทั้งถูกและแพง

ข้ออ้างของการตามใจปาก

เมื่อเราอยากกิน เรามักจะหาข้ออ้างมาสนับสนุนการกินของเราได้เสมอ  ‘รู้อยู่แก่ใจว่าไม่ดี แต่มันอดไม่ได้’ ———————————————————————————————————— ทุกคนอยากหุ่นดี ใส่เสื้อผ้าได้ทุกแบบด้วยความมั่นใจ มีสุขภาพแข็งแรง คงไม่มีใครอยากป่วย แต่ความอยากเหล่านี้มันคงเป็นที่ความฝันที่เลือนลาง เมื่อเรายังหาเหตุผลของการกินตามใจปากได้ทุกครั้ง การหาเหตุผลต่าง ๆ นานามาสนับสนุนการกินที่เกินพอดี แบบนี้ในทางเศรษฐศาสตร์พฤติกรรมเรียกว่า ความลำเอียงเพื่อยืนยัน หรือ Confirmation bias  ขอยกตัวอย่างง่าย

ต้นทุนจม… กับดักและเหตุผลวิบัติที่เราต้องเท่าทัน

เราจ่ายไปเยอะแล้ว… เราลงทุนไปเยอะแล้ว… เราเดินมาไกลมากแล้ว… เราทำมาตั้งนาน กว่าจะมาถึงวันนี้ แล้วเราก็มาจบที่ …รู้งี้… คำพูดเหล่านี้เกิดขึ้นกับเราเสมอ เมื่อเราให้ค่ากับ “ต้นทุนจม” มากเกินไป คุณอ่านไม่ผิดหรอกค่ะ “ต้นทุนจม” อย่างแท้จริง ต้นทุนตัวนี้สำคัญมากนะ ไม่เฉพาะสำหรับนักลงทุน หรือนักธุรกิจ แต่มันมีอยู่จริงในชีวิตเราทุกคน ซึ่งแต่ละคนจะทุกข์ร้อนกับมันมากแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับการให้ค่าความสำคัญ แต่ผู้คนส่วนหนึ่งก็เจ็บหนัก

อาหารที่ถูกทิ้ง

ปัญหาอาหารถูกทิ้งหรือ Food waste เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่เป็นผลพวงของความไม่เท่าเทียมกันของการเข้าถึงอาหาร มาตรฐานเพื่อการบริโภค และการกินตามใจปากแบบไม่ประมาณตัวเอง อาหารที่ผลิตได้บนโลกนี้ถูกทิ้งเปล่าๆโดยไม่ได้ประโยชน์ถึง 1 ใน 3 ขณะที่ประชากรบางส่วนบนโลกอดอยาก ถามว่าอาหารที่ถูกทิ้งเหล่านี้คิดน้ำหนักเท่าไร… คำตอบคือ 1.3 พันล้านตัน/ปี ใช่อ่านไม่ผิด 1.3 พันล้านตัน/ปี คิดดูนะ ทิ้งแล้วยังต้องมาจัดการกับขยะเหล่านี้อีก

แม้เศรษฐกิจไม่ดี แต่ก็มีอะไรดีดีเกิดขึ้น

เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา พาดหัวข่าวของประชาชาติ เรื่อง “สิงห์-ช้าง วืดเป้า เบียร์แสนล้านซึม กำลังซื้อทรุดนัก” เมื่ออ่านข่าวนี้ หัวใจเราพองโต ดีใจสุดๆ โฆษณาของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) กับสโลแกนที่ว่า “จน เครียด กินเหล่า” และการรณรงค์อื่นๆ ที่ทำมาอย่างต่อเนื่อง

ว่าด้วยเรื่องของไข่ ตอนที่ 2

หลังจากประเดิมลงบทความปฐมบท เรื่อง “ว่าด้วยเรื่องของไข่”ไปเมื่อ 30 ตุลาคม ที่ผ่านมา ทำให้ตัวเราเองเปลี่ยนมาซื้อไข่เบอร์เล็กแทนไข่เบอร์ใหญ่ และอาจทำให้ใครหลายคนที่ได้อ่านแอบเปลี่ยนความคิดเช่นกัน แต่ก็มีความสงสัยตามมาในหัวว่า จะเบอร์เล็ก เบอร์ใหญ่ เบอร์ไหนก็ช่าง…แล้วเราควรกินวันละกี่ฟอง จึงเรียกว่าพอเหมาะพอดี บทความภาคต่อ ที่เราทำการบ้านมานี้มีคำตอบ  แต่แหม…จะเขียนทั้งที ก็ต้องได้อะไรมากกว่าแค่คำตอบว่ากินได้กี่ฟอง เราได้มีโอกาสคุยถึงเรื่องไข่กับหลายคน ทุกคนยอมรับว่า ไข่

เมื่อรัฐจะเก็บ “ภาษีของเค็มและไขมันทรานส์”

เมื่อไม่นานมานี้หลายคนคงตื่นเต้นกับเรื่องไม่ใหม่แต่ไม่ค่อยคุ้นหูที่จู่ ๆ ภาครัฐนำโดยกระทรวงสาธารณสุขประกาศเตรียมห้ามผลิต นำเข้า และจำหน่ายกรดไขมันทรานส์ หรือที่รู้จักในชื่อ ทรานส์แฟท (Trans Fat) ในประเทศไทย โดยชี้ชัดว่าเจ้าไขมันทรานส์เป็นภัยต่อสุขภาพ เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด จากการที่เราบริโภคอาหารและขนม เช่น เค้ก ขนมปัง หรือ โดนัท ที่ใช้เนยขาว เนยเทียม

อาหารตามสั่งที่เซเว่น ทางเลือกที่เป็นประเด็น

ร้าน7-ELEVEN ALL meal ในซอยประชาสงเคราะห์23 เป็นสาขานำร่องที่เปิดให้บริการอาหารตามสั่งที่ทำกันสดๆบางรายการก็ใช้เครื่องนึ่งรวมถึงกาแฟสดและเบเกอรี่  มีหลายฝ่ายออกมาวิพากย์วิจารณ์ถึงความไม่เหมาะสมของเซเว่นอีกครั้ง ทำไมเซเว่นถึงเลือกเดินเกมนี้ เราขอออกตัวก่อนเลยว่าเราไม่ใช่ลูกค้าประจำเซเว่นแต่เรามักใช้บริการเซเว่นเมื่อเราไปในที่ที่ไม่คุ้นเคย หรือไปเป็นครั้งแรก ไม่รู้ว่าจะไปหาอะไรกินตรงไหน เพื่อนที่รู้จักแถวนั้นก็ไม่มี เซเว่นจึงเป็นทางเลือกที่เซฟสุดสำหรับเรา นั่นเป็นเพราะเซเว่นเป็น“ทางเลือก” รู้มั้ยเพราะอะไร   ก็เพราะเราไม่อยากเสี่ยงไปกับร้านอาหารที่เราไม่รู้ว่ารสชาติอร่อยรึเปล่าแต่ถ้าร้านใกล้แถวนั้นเราเห็นแววว่าน่าจะอร่อยสังเกตจากมีคนต่อคิวนั่งกินในร้านเยอะหรือมีรถจอดหน้าร้านเยอะมั้ยถ้ามีหนึ่งในนี้ เซเว่นไม่ได้เงินจากเราแน่นอน  การตัดสินใจแบบนี้เป็นผลจากการที่เรากลัวการสูญเสีย (Loss aversion) ซึ่งมีอยู่ในตัวเราอยู่เป็นปกติทำให้เราไม่กล้าที่จะเสี่ยงกลัวจ่ายเงินแล้วไม่อร่อย แต่อย่างน้อย เราก็รู้ว่ารสชาติของอาหารที่ขายในเซเว่นเป็นอย่างไร การเดินหมากเชิงรุกในเกมการตลาดของเซเว่นตานี้ ก็เข้ามาตอบโจทย์คนอย่างเรานี่แหละคือ เพิ่มทางเลือกให้กับเรา  หลายๆ คนวิตกกังวลว่าพ่อค้าแม่ค้ารายย่อยจะได้รับผลกระทบจากหมากเกมนี้ของเซเว่น