อาหารที่ถูกทิ้ง

ปัญหาอาหารถูกทิ้งหรือ Food waste เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่เป็นผลพวงของความไม่เท่าเทียมกันของการเข้าถึงอาหาร มาตรฐานเพื่อการบริโภค และการกินตามใจปากแบบไม่ประมาณตัวเอง อาหารที่ผลิตได้บนโลกนี้ถูกทิ้งเปล่าๆโดยไม่ได้ประโยชน์ถึง 1 ใน 3 ขณะที่ประชากรบางส่วนบนโลกอดอยาก ถามว่าอาหารที่ถูกทิ้งเหล่านี้คิดน้ำหนักเท่าไร… คำตอบคือ 1.3 พันล้านตัน/ปี ใช่อ่านไม่ผิด 1.3 พันล้านตัน/ปี คิดดูนะ ทิ้งแล้วยังต้องมาจัดการกับขยะเหล่านี้อีก

ว่าด้วยเรื่องของไข่

เราเป็นผู้หญิงตัวเล็กๆ ถึงขั้นเรียกกว่าอยู่ในกลุ่มน้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์ก็กว่าได้ (BMI 17.8 ซึ่ง ช่วงของเกณฑ์ปกติ คือ 18.5–22.9) ปัญหาหนึ่งของเราคือคลอเรสเตอรอลในเส้นเลือดสูง ซึ่งคนที่ผอมทั้งหลายมักจะมีปัญหานี้ เคยคิดเล่นๆว่า เป็นเพราะเราไม่มีไขมันให้คลอเรสเตอรอลไปสะสม คุณเธอเลยมาอยู่ในเลือดแทนมั้ง ความตั้งใจของเราคือ กินไข่วันละฟอง โดยเราจะเลือกกินไข่ต้ม ยิ่งต้มได้ยางมะตูมยิ่งฟิน จริงๆไข่เจียว ไข่ดาวก็ชอบแต่เพราะอยู่คอนโด เมนูทอดและผัดถูกเราแบน

เมนูโปรดกับร้านประจำที่ชื่นชอบ

การจะหาอะไรกินสักอย่างของนักเศรษฐศาสตร์เกษตรอย่างเราบางทีก็ดูจะเป็นการเรื่องมาก ความคิดในหัวตีกันตลอดเวลาว่าจะกินอะไรดี เมนูที่จะผุดขึ้นมาก็มักจะเป็นเมนูโปรด หรือร้านประจำที่ชื่นชอบ นอกเหนือจากเหตุผลเรื่องความชอบแล้ว ความรู้เกี่ยวกับสินค้าเกษตรที่สั่งสมมาทีละน้อยทีละนิดจากการรับรู้ความอยากลำบากของการผลิตสินค้าเกษตร มีโอกาสสัมผัสกับชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกรตั้งแต่เด็ก เนื่องจากเกิดในครอบครัวเกษตรกร ทำให้การตัดสินใจเลือกอุดหนุนร้านที่เรามั่นใจว่ารับซื้อผลผลิตมาจากเกษตรกรไทยมักจะเป็นเหตุผลหนึ่งเลือกร้านด้วยเช่นกัน เราเป็นคนหนึ่งที่เรียกได้ว่าเป็นสมาชิกคนรักเนื้อ ร้าน Max Beef จึงเป็นหนึ่งในร้านโปรด และมักจะชวนเพื่อนๆไปกินด้วยกัน ความพยายามในการยกระดับการผลิตเนื้อวัวคุณภาพตลอดระยะเวลากว่าทศวรรษ เมื่อเห็นว่าอาชีพเลี้ยงโค กระบือที่หัวไร่ปลายนา จะต้องประสบปัญหาในอีกไม่ช้า อันเนื่องมาจากการค้าเสรี

“กิน” การให้ความสุขที่ต้องคิด

“ไปกินของอร่อยๆกัน” มักจะเป็นวลีที่ถูกเปร่งออกมาโดยอัตโนมัติ เมื่อเราหรือคนสำคัญของเราทำอะไรสำเร็จดังเป้าที่ตั้งไว้ การกินถือเป็นการให้รางวัลตัวเองที่ง่ายและเร็วที่สุดทางหนึ่ง และเรามักจะกินเยอะมากกว่าซะด้วยเมื่อเรามีความสุขและการเฉลิมฉลอง หากใครที่กำลังควบคุมน้ำหนัก ก็จะมีเหตุผลสำหรับการฉลองนี้ว่า “มื้อเดียวเอง พรุ่งนี้ค่อยลด” ซึ่งไม่ต่างอะไรกับการเปรียบเปรยที่ว่า “วันที่ออกกำลังกายมากที่สุดคือ วันพรุ่งนี้” คนจำนวนไม่น้อยให้ความสุขกับปัจจุบันมากกว่าความมีสุขภาพดีในอนาคต ซึ่งต้องใช้เวลานานกว่าจะเห็นผล จงไม่แปลกที่จำนวนของคนที่มีภาวะน้ำหนักเกินและภาวะโรคอ้วนมีมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงจำนวนผู้ป่วยที่อยู่ในกลุ่มโรค NCDs มากขึ้นเช่นกัน นักเศรษฐศาสตร์อธิบายเหตุการณ์ที่เราให้ความสำคัญกับการกินมากกว่าสุขภาพในอนาคตนี้ผ่านแนวคิดของTime preferences