ไชน์มัสแคท (Shine Muscat) เพราะฮิตเกินไปจึงกลายเป็นเป้า

องุ่นไชน์มัสแคท “แอร์เมสแห่งวงการองุ่น” เม็ดกลมใหญ่ เนื้อกรอบ รสชาติหวาน มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว เนื้อสัมผัสไม่สากกระด้าง เปลือกบาง ไม่มีรสฝาดเมื่อรับประทานเปลือก จึงเป็นองุ่นที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคอย่างมาก องุ่นไชน์มัสแคท ได้เริ่มต้นการพัฒนาปรับปรุงพันธุ์ขึ้นมาในช่วงปี ค.ศ.1988 (พ.ศ.2523) โดยสถาบันวิจัยด้านการเกษตรในประเทศญี่ปุ่น และใช้เวลานานกว่าสองทศวรรษกว่าจะวางจำหน่ายเชิงพาณิชย์ในปี ค.ศ.2006 (พ.ศ.2549) [1] [2]

น้ำตาลหญ้าหวาน น้ำตาลหล่อฮั่งก้วย ดีจริง หรือคุณหลอกดาว

ผลการวิจัยล่าสุดของ Witkowski และคณะ พบว่า กลุ่มผู้ป่วยเบาหวานมีอาการภาวะของหัวใจวายและหลอดเลือดสมอง (stroke) มักมีระดับ erythritol ในเลือดสูง ซึ่งผลการทดลองในสัตว์ยังพบอีกว่า เจ้า erythritol ทำให้เกล็ดเลือดจับตัวเป็นก้อนได้ง่ายขึ้น แถมเจ้าลิ่มเลือดนี้ยังแตกตัวออกขณะไหลไปยังหัวใจทำให้เกิดภาวะหัวใจวายหรือหลอดเลือดสมองแตกได้ [1] เมื่อพบถึงความสัมพันธ์ระหว่าง erythritol กับโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง ทีมวิจัยได้ศึกษาเพิ่มเติมในอาสาสมัครแปดราย กิน

Specialty durian ทางออกของทุเรียนไทย

เรื่องโดย สุวรรณา สายรวมญาติ ทุเรียนเป็นหนึ่งในสินค้าที่เป็นกลุ่มไม่รักก็เกลียดเลย (Like it or hate it) แต่ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยี และอิทธิพลของแพลตฟอร์มออนไลน์ทั้ง E-commerce และสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ ทำให้กลุ่มเกลียดเลยมีแนวโน้มสัดส่วนลดลง ความคลั่งไคล้ของผู้ชื่นชอบทุเรียนได้ส่งผ่านไปยังสื่อสังคมออนไลน์กระตุ้นการบริโภคทุเรียนได้อย่างมหาศาล ปัจจุบันตลาดผู้บริโภคทุเรียนที่ใหญ่ที่สุดคงหนีไม่พ้นพี่จีน แม้ในอดีตทุเรียนจะเป็นผลไม้ที่มีกลิ่นไม่พึงประสงค์ แต่ปัจจุบันความรู้สึกของผู้บริโภคชาวจีนได้เปลี่ยนไปกลายเป็นผลไม้ที่ได้รับความนิยม การบริโภคทุเรียนกลายเป็นภาพลักษณ์ทางสังคม นิยมซื้อเป็นของฝากให้ญาติสนิทมิตรสหาย เอาแค่ช่วงสั้น ๆ เช่น

เมื่อ “ข้าว” กลายเป็น “สินค้าด้อยคุณภาพ”

งานวิจัยด้านเศรษฐศาสตร์หลายชิ้นได้ผลวิจัยออกมาในแนวทางเดียวกันว่า เมื่อรายได้ของผู้บริโภคสูงขึ้น ผู้บริโภคมีแนวโน้มที่จะไปบริโภคอาหารอื่นแทนข้าวเพิ่มมากขึ้น ในมุมของนักเศรษฐศาสตร์ ลักษณะแบบนี้เราเรียกว่า ‘สินค้าด้อยคุณภาพ’ คำว่า ‘สินค้าด้อยคุณภาพ’ ไม่ได้หมายถึงว่าคุณภาพไม่ดี คุณภาพของสินค้ายังดีเหมือนเดิม ข้าวยังหอม นุ่ม และอร่อยเหมือนเดิม แต่ “ข้าว” ด้อยค่าเสียแล้วในสายตาเรา และเรามักจะให้เป็นทางเลือกรองหากเรามีรายได้มากขึ้น จากงานวิจัยล่าสุดของเราที่ศึกษาพฤติกรรมการบริโภคข้าวของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร โดยสำรวจช่วงเดือนสิงหาคม –

กินข้าวอย่างไร ไม่ให้อ้วน ตอนที่ 2

จากบทความตอนที่ 1 เล่าถึงวิธีการกินข้าวและเลือกข้าวที่ช่วยเรากินข้าวแล้วไม่อ้วน ตอนนี้เราจะขอเล่าเทคนิคอย่างง่าย ๆ แถมมีงานวิจัยรองรับ มาเล่าสู่กันฟัง วิธีแรก ลดขนาดจานและชาม ศาสตาจารย์ Brian Wansink แห่ง Cornell University ได้ออกแบบการทดลองด้านพฤติกรรมการรับประทานขึ้นมา 4 การทดลอง เพื่อที่จะยืนยันว่า ภาชนะหรือบรรจุภัณฑ์ขนาดใหญ่กระตุ้นให้เรา

วิธีกำจัดข้ออ้างตามใจปาก

หลังจากได้อ่านหนังสือ “กำจัดข้ออ้างสุดท้ายออกจากชีวิต” หรือ “No excuses” อ่านไปก็นึกถึงตัวเองและคนรอบข้าง และพบว่า…พวกเรานี่ช่างคิดข้ออ้างของการกินได้ไม่สิ้นสุดจริงๆ  เราก็เลยประยุกต์วิธีที่ได้จากหนังสือมาช่วยจัดการข้ออ้างของการกิน เผื่อเพื่อนๆ สนใจจะนำไปใช้ ข้ออ้างที่เรามักได้ยิน คือ กินคาวไม่กินหวานสันดานไพร่เนื่องจากน้ำตาลสมัยก่อนมีราคาแพง อาหารที่ใช้น้ำตาลเป็นเครื่องปรุงจึงมักอยู่ในรั้วในวัง หรือบ้านคนมีอันจะกิน หลังจากกินของคาวเสร็จ ก็มักจะมีของหวานล้างปาก แต่ปัจจุบันนี้น้ำตาลถูกกว่าแต่ก่อนมาก ของหวานมีให้กินกันทั่วไป ทั้งถูกและแพง

ข้ออ้างของการตามใจปาก

เมื่อเราอยากกิน เรามักจะหาข้ออ้างมาสนับสนุนการกินของเราได้เสมอ  ‘รู้อยู่แก่ใจว่าไม่ดี แต่มันอดไม่ได้’ ———————————————————————————————————— ทุกคนอยากหุ่นดี ใส่เสื้อผ้าได้ทุกแบบด้วยความมั่นใจ มีสุขภาพแข็งแรง คงไม่มีใครอยากป่วย แต่ความอยากเหล่านี้มันคงเป็นที่ความฝันที่เลือนลาง เมื่อเรายังหาเหตุผลของการกินตามใจปากได้ทุกครั้ง การหาเหตุผลต่าง ๆ นานามาสนับสนุนการกินที่เกินพอดี แบบนี้ในทางเศรษฐศาสตร์พฤติกรรมเรียกว่า ความลำเอียงเพื่อยืนยัน หรือ Confirmation bias  ขอยกตัวอย่างง่าย

ต้นทุนจม… กับดักและเหตุผลวิบัติที่เราต้องเท่าทัน

เราจ่ายไปเยอะแล้ว… เราลงทุนไปเยอะแล้ว… เราเดินมาไกลมากแล้ว… เราทำมาตั้งนาน กว่าจะมาถึงวันนี้ แล้วเราก็มาจบที่ …รู้งี้… คำพูดเหล่านี้เกิดขึ้นกับเราเสมอ เมื่อเราให้ค่ากับ “ต้นทุนจม” มากเกินไป คุณอ่านไม่ผิดหรอกค่ะ “ต้นทุนจม” อย่างแท้จริง ต้นทุนตัวนี้สำคัญมากนะ ไม่เฉพาะสำหรับนักลงทุน หรือนักธุรกิจ แต่มันมีอยู่จริงในชีวิตเราทุกคน ซึ่งแต่ละคนจะทุกข์ร้อนกับมันมากแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับการให้ค่าความสำคัญ แต่ผู้คนส่วนหนึ่งก็เจ็บหนัก

ฤาว่าเราควรอดอาหาร

วารสาร Science ฉบับที่ 362 มีบทความเรื่อง Time to Fast เขียนโดย Di Francesco และเพื่อน ซึ่งมีหลายประเด็นที่น่าสนใจมากเกี่ยวกับ Fasting คำถามแรก Fasting คืออะไร Fast ในที่นี้ไม่ได้แปลว่าเร็ว แต่ Fast ในที่นี้แปลว่า อดอาหาร บทความเรื่องนี้กล่าวถึงการอดอาหาร 4 แนวทาง คือ

อาหารที่ถูกทิ้ง

ปัญหาอาหารถูกทิ้งหรือ Food waste เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่เป็นผลพวงของความไม่เท่าเทียมกันของการเข้าถึงอาหาร มาตรฐานเพื่อการบริโภค และการกินตามใจปากแบบไม่ประมาณตัวเอง อาหารที่ผลิตได้บนโลกนี้ถูกทิ้งเปล่าๆโดยไม่ได้ประโยชน์ถึง 1 ใน 3 ขณะที่ประชากรบางส่วนบนโลกอดอยาก ถามว่าอาหารที่ถูกทิ้งเหล่านี้คิดน้ำหนักเท่าไร… คำตอบคือ 1.3 พันล้านตัน/ปี ใช่อ่านไม่ผิด 1.3 พันล้านตัน/ปี คิดดูนะ ทิ้งแล้วยังต้องมาจัดการกับขยะเหล่านี้อีก